ใกล้จะถึงเทศกาลเสียภาษีประจำปีอีกรอบกันแล้ว หลายคนคงมองถึงช่องทางการลงทุน และยังสามารถนำมาลดหย่อนกันได้อีก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานอกจากบริจาคเงินที่นำมาลดหย่อยได้แล้ว ยังมีทางอื่นๆ ในการช่วยลดหย่อนอีกไหม หรือมีวิธีไหนที่จะช่วยลดหย่อน ให้จ่ายภาษีน้อยลง ถึงจะเป็นเรื่องจุกจิก แต่ถ้าช่วยประหยัดเงินได้ ก็มีประโยชน์แน่นอน
แถมไตรมาส 4 ของทุกปี ก็เป็นช่วงที่หลายคน กำลังมองหาการลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ทั้ง 2 กองนอกจากจะนำมาลดหย่อนได้ ยังเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองและครอบครัวได้อีกด้วย
ซึ่งทาง MarketingOop! ได้นำข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี ของทั้ง 2 กองทุนมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการลงทุน
วิธีการเลือกกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี จะต้องเน้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปเป็นหลัก เพราะจะสามารถ “แสดงศักยภาพ” การสร้างผลตอบแทนได้ชัดเจน
เนื่องจากระหว่างปีในแต่ละปีนั้น ภาวะตลาดเงินและตลาดทุนจะมี “ความผันผวน” ค่อนข้างสูง ดังนั้นหากกองทุนไหน ที่ยังสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับสูงในช่วง 3 ปี จึงเหมาะกับการเลือกลงทุน
ข้อมูลจาก บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่รวบรวมรายงานผลตอบแทนของกองทุนประเภทต่างๆ ได้ระบุถึงผลตอบแทนกองทุนหุ้นระยะยาว( LTF) 5 อันดับแรก ที่ทำผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี ดีที่สุดในอุตสาหกรรม
อันดับ 1 ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวแอ็คทีฟ SET50 ปันผล ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด สามารถทำผลผลตอบแทนสูงสุดถึง 13.90%
กองทุนนี้ เป็นประเภทกองทุนรวม LTF เน้นลงทุนใน Equity General กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่1 พ.ย.2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2,967,788,085 บาท จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 26.0074 บาท/หน่วย
สัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 98.90% เงินสด/เงินฝาก 1.10 % โดยการกระจายการลงทุนในหุ้น กลุ่มธนาคาร 28.04% พลังงานและสาธารณูปโภค 21.24 % เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 8.42 % เงินทุนและหลักทรัพย์ 7.53% พาณิชย์ 6.89 % อื่นๆ 27.88 %
สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ TCAP 7.57 % KTB 7.32 % BANPU 6.76 % SCB 6.66 % DTAC 5.54 % อื่นๆ 66.15 %
อันดับ 2 ได้แก่ กองทุนเปิด JUMBO 25 ปันผล หุ้นระยะยาว ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด สร้างผลตอบแทน 13.14 %
กองทุนนี้เป็นประเภทกองทุนรวม LTF เน้นลงทุนใน Equity Large Cap มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ 11 พ.ย. 2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 7,825,204,770 บาท กองทุนนี้จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 26.8022 บาท/หน่วย
มีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 99.24% เงินสด/เงินฝาก 0.76% โดยการกระจายการลงทุนในหุ้น กลุ่ม Energy 19.69% Financial Services 17.11% Basic Materials 13.84 % Industrials 11.23 % Consumer Defensive 10.81% Communication Services 8.96% Consumer Cyclical 6.24% Real Estate 5.43% Healthcare 5.33% Technology 1.37%
สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ PTT 15.23% AOT 9.85% CPALL 7.01% ADVANC 6.25% PTTEP 5.72 % อื่นๆ 55.94 %
อันดับ 3 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี หุ้นระยะยาว ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี จำกัด สร้างผลตอบแทน 13.04%
กองทุนนี้เป็นประเภทกองทุนรวม LTF เน้นลงทุนใน Equity General ไม่จ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุน เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 3,651,192,292 บาท จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 44.5345 บาท/หน่วย
มีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 90.68% เงินสด/เงินฝาก 9.32 % โดยการกระจายการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 14.83% ธนาคาร 14.14% พาณิชย์ 10.53 % เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 8.94% ขนส่ง 7.98% อื่นๆ 43.58%
โดย Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ UOBH 9.27 % BBL 7.03 % CPALL 6.13 % PTT 5.88 % CPF 5.36 % อื่นๆ 66.33%
อันดับ 4 ได้แก่ กองทุนเปิดภัทร หุ้นระยะยาวปันผล ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ภัทร จำกัด สร้างผลตอบแทน 12.47%
กองทุนนี้เป็นประเภทกองทุนรวม LTF เน้นลงทุนใน Equity General มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ 22 ต.ค.2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 5,216,029,971 บาท จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 28.4791 บาท/หน่วย
มีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 82.43% ตราสารหนี้ 17.38 % เงินสด/เงินฝาก 0.18% โดยกระจายการลงทุนในหุ้น กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 21.75 % พันธบัตร,ตั๋วเงินคลัง 17.04% ธนาคาร 12.38 % พาณิชย์ 7.98% เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7.64% อื่นๆ 33.21 %
สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ PTT 6.63 % PTTEP 5.04 % CPALL 4.44 % MINT 4.31% SCB 3.74 % อื่นๆ 75.84 %
ส่วนอันดับ 5 ได้แก่ กองทุนเปิดวรรณเอเอ็มซีเล็คทีฟหุ้นระยะยาว ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด สร้างผลตอบแทน 11.01%
กองทุนนี้เป็นประเภทกองทุนรวม LTF เน้นลงทุนใน Equity General กองทุนไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุน วันที่ 2 มิ.ย.2548 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 781,310,216 บาท จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 37.7354 บาท/หน่วย
สัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 94.42% เงินสด/เงินฝาก 5.46% อื่นๆ 0.12% โดยการกระจายการลงทุนในหุ้น กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 18.14% ธนาคาร 16.66% พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 9.61% พาณิชย์ 9.47% เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 9.27% อื่นๆ 36.85%
สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ PTT 8.54% AOT 5.80% ADVANC 5.79% KBANK 5.41% CPALL 4.97% และอื่นๆ 69.49%
ส่วนกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 5 อันดับแรกที่ทำผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี ดีที่สุดในอุตสาหกรรม
อับดับ 1 ได้แก่ กองทุนเปิด แอล เอช เฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ High ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด สร้างผลตอบแทน 11.81%
กองทุนนี้เป็นกองทุนรวม RMF เน้นลงทุนลงทุนแบบผสม ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ 28 พ.ย.2555 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 133,868,510 บาท กองทุนนี้จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 15.0686 บาท/หน่วย
โดยมีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 83.63 % ตราสารหนี้ 11.47% เงินสด/เงินฝาก 2.39 % อื่นๆ 2.50%
สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย 11.45 % PTT 6.49 % BBL 4.68 % IVL 4.59 % ADVANC 4.34% และอื่นๆ 68.45%
อันดับ 2 ได้แก่ กองทุนเปิดธนชาตมิกซ์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด สร้างผลตอบแทน 10.42%
กองทุนนี้เป็นกองทุนรวม RMF เน้นลงทุนลงทุนแบบผสม ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ 1 ธ.ค. 2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1,766,320,281 บาท กองทุนนี้จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 42.9101 บาท/หน่วย
มีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 84.14% เงินสด/เงินฝาก 15.86% สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ BAY 11.51% PTT 8.56% BBL 7.33% CPALL 7.24% ADVANC 5.23% อื่นๆ 60.13 %
อันดับ 3 ได้แก่ กองทุนเปิดภัทร บาลานซ์เพื่อการเลี้ยงชีพ Below Average ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด สร้างผลตอบแทน 10.28%
กองทุนนี้เป็นกองทุนรวม RMF เน้นลงทุนลงทุนแบบผสม ไม่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ 8 ต.ค. 2547 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 227,942,125 บาท กองทุนนี้จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 32.3280 บาท/หน่วย
โดยมีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 70.46% ตราสารหนี้ 23.19% เงินสด/เงินฝาก 6.36% อื่นๆ 0.00 % สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ BBL 6.29 % PTT 5.55 % ธนาคารแห่งประเทศไทย 4.62 % PTTGC 4.22 % CPALL 3.70% และอื่นๆ 75.62%
อันดับ 4 ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีทวีทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ Above Average ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด สร้างผลตอบแทน 10.16%
กองทุนนี้เป็นกองทุนรวม RMF เน้นลงทุนลงทุนแบบผสม ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ 17 ก.ย.2545 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 3,507,275,351 บาท กองทุนนี้จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 78.7479 บาท/หน่วย
มีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 87.20% ตราสารหนี้ 0.00% เงินสด/เงินฝาก 12.80% สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงานที่เข้าลงทุน ได้แก่ PTT 7.23 % UOBH 6.55 % TISCO 6.24 % AOT 3.92 % BBL 3.77% และอื่นๆ 72.29 %
อันดับ 5 ได้แก่ กองทุนเปิด เฟล็กซิเบิลคุณค่า เพื่อการเลี้ยงชีพ Below Average บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด สร้างผลตอบแทน 10.07%
กองทุนนี้เป็นกองทุนรวม RMF เน้นลงทุนลงทุนแบบผสม ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล จดทะเบียนกองทุนวันที่ ธ.ค. 2546 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ :332,961,126 บาท กองทุนนี้จัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดพอร์ตการลงทุนด้วยการผสมผสานหลากหลายสินทรัพย์เข้าด้วยกัน) NAV ณ วันที่ 26/09/2561 อยู่ที่ 28.7101 บาท/หน่วย
มีสัดส่วนการลงทุนแบ่งเป็น ตราสารทุน 80.03% ตราสารหนี้ 18.36 % เงินสด/เงินฝาก 1.36% อื่นๆ 0.25%
สำหรับ Top 5 Holdings หรือบริษัท/หน่วยงาน ที่เข้าลงทุน ได้แก่ PTT 6.38 % CPALL 5.79 % ธนาคารแห่งประเทศไทย 5.51% ADVANC 5.06% AOT 4.98 % และอื่นๆ 72.28 %
มีอะไรนำไปลดหย่อนได้อีกบ้าง
นอกจากนี้การเลือกเป้าหมายการลงทุนในยุคเทคโนโลยี ยังสามารถนำนวตกรรมทางการเงินเข้ามาใช้ เช่น แอปต่างๆ จะเป็นตัวช่วยอย่างดีและมีหลายรูปแบบในปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีล้ำๆ ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ให้กับเราได้ง่ายขึ้น เช่น ช่วยให้รู้ว่าเส้นทางการเงินจะมีโอกาสงอกเงยได้อย่างไร ช่วยปรับระยะเวลาของการลงทุนให้สั้นลงหรือยาวขึ้น เราอยากลดหรือเพิ่มจำนวนเงินลงทุนในแต่ละเดือน หรือใช้เป็นทางลัดว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อไปสู่เป้าหมายการลงทุน
นอกจากจะลงทุนในกองทุนข้างต้นแล้ว ค่าลดหย่อนในกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ถือเป็นรายการลดหย่อนภาษีปี 2561 ซึ่งในกลุ่มนี้จะเป็นค่าลดหย่อน ที่ให้เพิ่มสำหรับกรณีที่มีการจ่ายเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจบางอย่าง หรือเป็นมาตรการของรัฐ ที่อยากกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น อาทิ
ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวไทย 55 จังหวัดเมืองรอง จ่ายตามจริงสูงสุดไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทซึ่งเป็นมาตรการภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยว สามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 มกราคม- 31 ธันวาคม 2561 เฉพาะส่วนที่เป็นค่าทัวร์ ค่าที่พัก (เป็นค่าที่พักกับโฮมสเตย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการท่องเที่ยว)
ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินลงทุนในธุรกิจ Startup 1 แสนบาท(จดทะเบียนจัดตั้ง 1 ตุลาคม 2558- 31 ธันวาคม 2562 ทุนจดทะเบียนชําระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ตลอดช่วงเวลาที่ลงทุน), ทำธุรกิจในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย-ผ่านการรับรองจากสวทช. มีรายได้ในส่วนนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด สามารถใช้ลดหย่อนภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 ธันวาคม 2562
กลุ่มประกันชีวิต ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับ LTF, RMF ที่ถือเป็นการลงทุน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท โดยกองทุนรวม LTF จะต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปี
ส่วน RMF ที่เป็นกองทุนรวมที่ลงทุนไว้ในสินทรัพย์หลายประเภท สำหรับผู้ที่ใช้เพื่อการวางแผนสำหรับวัยเกษียณ นำไปลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่าง ที่สามารถนำไปลดหย่อนได้อีก เช่น ประกันสังคม ดอกเบี้ยเงินกู้ เงินสมทบ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คู่สมรส เลี้ยงดูลูก-การศึกษาลูก เลี้ยงดูพ่อแม่ เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ และเบี้ยประกันสุขภาพ