หากพูดถึงเมืองต้นแบบอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (smart city) ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศลำดับต้นๆ ที่ใครหลายคนนึกถึง เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีนวัตกรรมแปลกใหม่ สร้างสรรค์ และสามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน อาทิ รถไฟฟ้าความเร็วสูง โรบอทช่วยชีวิตระบบชำระเงินอัตโนมัติ และอื่นๆ อีกมากมายที่อำนวยความสะดวกและใส่ใจวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นแบบสุดๆ จึงเป็นที่จับตาจากหลายๆ ประเทศ เพื่อนำโมเดลเมืองต้นแบบไปปรับกับประเทศของตนให้น่าอยู่และตอบสนองการใช้ชีวิตของประชาชนสูงสุด
สำหรับประเทศไทยเอง คำว่า “สมาร์ทซิตี้” เริ่มมีการพูดคุยระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีการตั้งคำถามต่ออีกว่าสมาร์ทซิตี้ของไทยจะไปในทิศทางไหน เหมือนประเทศญี่ปุ่นหรือเปล่า? ในงาน Digital Thailand Big Bang 2018 งานมหกรรมด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ได้มีการเสวนาถึงการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ประเทศที่ง่ายต่อการพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้ จำเป็นต้องมี 2 ลักษณะ คือ เมืองที่มี GDP สูง และเมืองมีการวางผังเมืองที่ดี เช่น สิงคโปร์ ซึ่งประเทศไทยมี GDP ไม่ได้สูงมากนัก และมีลักษณะผังเมืองแบบ urban spore หรือการสร้างบ้านเรือนตามธรรมชาติในพื้นที่ของตน ดังนั้นทำให้ประเทศไทยไม่สามารถทำตามโมเดลให้เหมือนต่างประเทศเป๊ะๆ ได้ หากมองลึกเชิงโครงสร้างตัวผังเมืองต้องถูกออกแบบเป็นอย่างดีตั้งแต่แรก นอกจากนี้การลงทุนด้านเทคโนโลยีก็สำคัญไม่แพ้กันหากลงมือทำช้าจะทำให้ตามเทคโนโลยีที่โตอย่างก้าวกระโดดไม่ทัน พร้อมกันนี้การเปิดพื้นที่ให้หลายๆ ภาคส่วนได้มีโอกาศพูดคุยถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเปิด data communication และ data compilation ซึ่งในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรงได้
ประเทศไทยตั้งเป้าเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ แบ่งพัฒนาเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ผลักดันให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีความปลอดภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ และผลักดันให้เป็นเมืองทันสมัย สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในด้านคมนาคม การศึกษา การพัฒนาทักษะอาชีพ และสร้างพลังงานสะอาด
ส่วน 7 จังหวัดนำร่องเมืองอัจฉริยะที่ได้เริ่มสร้างแล้ว ได้แก่ กรุงเทพ เชียงใหม่ฯ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยผลักดันให้เกิด Smart Mobility, Smart Economy, Smart Living, Smart Farming, และ Smart Pole เป็นต้น เน้นแก้ pain point เป็นหลัก
นอกจากนี้ภายในงานยังรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยและจะมีการใช้ในอนาคตอย่างแน่นอน
โรบอทพนักงานต้อนรับของ AIS
P.I.N Chatbot แอปพลิเคชันสมาร์ทโฮมที่จะทำให้บ้านคุณไฮเทคขึ้น โดยแอปฯ P.I.N จะเหมือนตัวสื่อสารกลางระหว่างอะแดปเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพียงคุณเอาอะแดปเตอร์ไปติดที่เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเช่นโคมไฟ เท่านี้คุณก็สามารถเปิดโคมไฟผ่านแอปฯ ได้แล้ว
โรบอทโฆษณา โดนตัวโรบอทจะวิ่งไปในพื้นที่เรื่อยๆ พร้อมฉายโฆษณาที่อยู่บนจอ ที่น่าสนใจคือ มันมีระบบจับสัมผัสที่ไวมาก ไม่ชนคนเด็ดขาด
เครื่องสั่งซื้อเครื่องดื่มด้วยระบบจดจำใบหน้าของ KBank เพียงคุณสแกนใบหน้ากับเครื่อง หากคุณต้องการซื้อเครื่องดื่ม ก็แค่เพียงสแกนใบหน้าแล้วเลือกเครื่องดื่มที่ต้องการ จากนั้นระบบจะทำการชำระเงินอัตโนมัติ (ผ่านบัตรที่ทำการซิงค์ไว้แล้ว) เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จไปรอรับเครื่องดื่มได้เลย
เครื่องฝากเงินชนิดรับเหรียญจาก SCB เพียงใส่รหัสไม่กี่ขั้นตอน จากนั้นก็เทเหรียญลงบนเครื่องได้เลย ค่อยๆ เกลี่ยเหรียญเข้าเครื่อง กดบันทึกเป็นอันเสร็จ
เครื่องส่งของอัตโนมัติจาก JD โดยไม่ต้องใช้คนส่งอีกต่อไป หลักการทำงานของมันคือ จะมีคนเอาเครื่องนี้ไปปล่อยในเส้นทางที่กำหนด จากนั้นเครื่องจากเครื่องตัวไปส่งของถึงหน้าบ้านคุณเลย
เครื่องชำระเงินผ่านใบหน้าจาก JD เพียงคุณหยิบสินค้า เอามาสแกนที่เครื่อง สแกนใบหน้าอีกครั้ง เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
เครื่องซื้อเครื่องสำอาง โดยเจ้าเครื่องนี้คุณไม่ต้องไปลองแต่งหน้าที่ร้านอีกต่อไป เพียงสแกนใบหน้าระบบจะที่สีของเครื่องสำอางให้เลือกตามใจชอบ จากนั้นก็กดสั่งซื้อรอรับสินค้าได้เลย
กล้องจับภาพในที่สาธารณะ สามารถแสดงข้อมูลพื้นฐานของคนๆ นั้นได้ทันที