กระแสรักษ์โลก เป็นสิ่งที่พูดถึงในทุกวงการ ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิง ด้านการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ยุคนี้ นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องดีไซน์และความสะดวกสบายคงไม่เพียงพอ
แต่อาคารมาตรฐานโลกส่วนใหญ่ต้องได้รับมาตรฐานว่าเป็น Green Building ที่สะท้อนถึงความใส่ใจ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้พัฒนาโครงการ ทั้งตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น
LEED มาตรฐานสีเขียวฉบับคนรักษ์โลก
ถ้าเอ่ยถึงมาตรฐานการประเมินอาคารสีเขียวที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายมากที่สุด คงไม่มีใครไม่รู้จัก LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินระดับนานาชาติที่แสดงถึงมาตรฐานในการก่อสร้างอาคารสีเขียว ที่ดำเนินการโดยองค์กรที่เรียกว่า U.S. Green Building Council (USGBC) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
LEED เป็นอีกหนึ่งมาตรฐานการก่อสร้างอาคารและอสังหาฯ ที่เกิดในยุคที่กระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อมซึ่งได้รับการยอมรับในด้านการตรวจสอบและประเมินว่าอาคารหรือชุมชนที่พักอาศัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคารและช่วยลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร โดยที่ผ่านมามีอาคารดังๆ สถาปัตยกรรมระดับโลกมากมายที่ให้ความสำคัญกับ LEED รวมถึงอาคารชั้นนำในประเทศไทยหลายแห่งที่ได้รับการรับรองยืนยันโดยมาตรฐาน LEED
WELL Building Standard มาตรฐานเพื่อคุณภาพชีวิตอันแรกของโลก
เมื่อกระแสโลกยังหันมาให้ความสนใจต่อกระแสสุขภาพด้วย จึงได้กลายเป็นอีกเกณฑ์ที่ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ ยุคนี้ต้องให้ความใส่ใจไม่แพ้ด้านสิ่งแวดล้อม ก็คือการต้องเพิ่มความใส่ใจในเรื่องสุขภาพของผู้ใช้อาคารอีกด้วย จึงจะตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคนี้
ซึ่งอีกหนึ่งมาตรฐานที่กำลังมาแรง และเริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นไม่แพ้กัน คือ WELL Building Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานแรกของโลกที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคารที่กำลังได้รับการยอมรับจากอาคารชั้นนำทั่วโลกกว่า 940 โครงการที่เข้าร่วมมาตรฐาน ใน 34 ประเทศ
โดย WELL มีเกณฑ์การประเมินที่ให้คะแนนในกลุ่มอาคารที่มีคุณสมบัติด้านการบริการจัดการอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคาร ผ่านเกณฑ์ประเมิน 7 ข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. Air – ในอาคารมีอากาศที่บริสุทธิ์ 2. Water – น้ำดื่ม น้ำใช้มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย 3. Nourishment – มีอาหารที่สดใหม่ บำรุงสุขภาพ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 4. Light – มีการควบคุมแสงที่เหมาะสม ทั้งเพื่อการทำงานและพักผ่อน 5. Fitness – มีพื้นที่ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวสม่ำเสมอ 6. Comfort – สภาพแวดล้อมดี สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน และ 7. Mind – เป็นสถานที่ให้ความผ่อนคลายสบายใจ
ต้นแบบอาคารมาตฐาน LEED และ WELL ที่โลกจดจำ
Shanghai Tower
สำหรับหนึ่งในตัวอย่างอาคารที่ได้รับรางวัลมาตรฐาน LEED ที่ต้องพูดถึง แน่นอนว่าต้องมี อาคารเซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ (Shanghai Tower) อาคารที่ได้ชื่อว่าสูงอันดับสองของโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED Platinum โดยเป็นอาคารรูปแบบ Mix Use จำนวน 128 ชั้น และมีความสูงถึง 632 เมตร นอกจากจะถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของจีน ในจุดยืนด้านความใส่ใจอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งโดดเด่นทั้งด้านดีไซน์แล้ว ยังเป็นไอคอนหรือแบบอย่างของอาคารที่มีเป้าหมายเรื่องความยั่งยืนที่สูงที่สุดของโลก โดยตัวอาคารได้รับการออกแบบโดย Gensler ภายใต้แนวคิดที่ทำให้สามารถใช้พลังงานน้อยกว่าอาคารในระดับเดียวกันถึงร้อยละ 80 และยังตั้งเป้าหมายที่จะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้ได้ 25,000 ลูกบาศก์ตันต่อปี
The American Society of Interior Designers (ASID)
อาจกล่าวได้ว่า อาคารสำนักงานใหญ่ของสมาคมนักออกแบบภายในแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Society of Interior Designers (ASID) เป็นอาคารแห่งแรกที่ได้รับมาตรฐานระดับ Platinum ของทั้งจาก WELL Building Standard™ และมาตรฐาน LEED ในปี 2017 อาคารออกแบบโดย Perkins+Will ซึ่งมีแรงบันดาลใจที่จะเป็นต้นแบบอาคารที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตผู้คน บนพื้นที่กว่า 8,500 ตารางฟุต ในนครวอชิงตัน ดี.ซี. ที่ตั้งใจออกแบบระบบอาคารภายใต้การคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาวะของผู้ใช้อาคารทั้งด้านกายและใจ
DELOS HEADQUARTERS
อาคารสำนักงานใหญ่ DELOS ในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นอีกอาคารสำนักงานที่ได้รับมาตรฐาน WELL Building Certification และ LEED v4 เช่นกัน
Citi Tower One Bay East (OBE)
Citi Tower One Bay East (OBE) ฮ่องกงเป็นผลงานการออกแบบโดย The M Moser ที่คว้ามาตรฐานด้านการออกแบบอาคารเพื่อโลกมาถึงหลายรางวัล ทั้ง WELL Silver มาตรฐาน LEED มาตรฐาน RESET Green Building Standards รวมถึงรางวัล Sustainability Achievement Region 2016-2-17 Design Awards จาก American Institute of-Architecture เป็นต้น ที่การันตีว่าอาคารสำนักงาน ระดับเกรด A ความสูง 18 ชั้นแห่งนี้ ถูกออกแบบสภาพแวดล้อมอาคารและการจัดสรรพื้นที่เพื่อผู้ใช้อาคารอย่างแท้จริง และยังเป็นไปตามแนวทางการส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดี
The PARQ
สำหรับอีกหนึ่งโครงการที่น่าจับตาในบ้านเรา ยังมีโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งที่ตั้งเป้าจะเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐานอาคาร LEED Gold และ WELL Gold ซึ่งเท่ากับจะส่งผลให้ The PARQ เป็นโครงการที่ล้ำหน้าที่สุดในกรุงเทพมหานครเลยทีเดียว
เรากำลังพูดถึง โครงการ The PARQ (เดอะ ปาร์ค) โครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบมิกซ์ยูส มูลค่ากว่าสองหมื่นล้านบาท มีพื้นที่อาคารรวม 320,000 ตารางเมตร บนทำเลทองติดถนนพระรามสี่ บนพื้นที่โครงการ 24 ไร่ เรียกได้ว่าเป็นโครงการระดับ premium ที่มีทั้งพื้นที่สำนักงานเกรดA และพื้นที่ร้านค้า
ภายใต้คอนเซ็ปต์ Life Well Balanced ที่เน้นการบูรณาการสถาปัตยกรรมล้ำสมัย การออกแบบอย่างยั่งยืน และบริการสมาร์ทเซอร์วิสแบบครบวงจรเข้าไว้ด้วยกัน ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างสมดุล มุ่งยกระดับการทำงาน และการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ
‘The PARQ’ (เดอะ ปาร์ค) เป็นโครงการที่พัฒนาโดยบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท (ประเทศไทย) จำกัด และบริหารโดยบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้แบรนด์ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งมีประสบการณ์และชื่อเสียงทางด้านพัฒนาและบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับนานาชาติ
ในการออกแบบผ่านแนวคิด Biophilic Design ของโครงการ The PARQ นั้น ให้ความสำคัญกับพื้นที่อาคารและสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ ภายในโครงการประกอบไปด้วยสวน ‘Q Garden’ (คิว การ์เด้น) ซึ่งเป็นสวนลอยฟ้าขนาด 3,400 ตารางเมตรที่ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดและตกแต่งด้วยธารน้ำอย่างสวยงาม นอกจากนี้ยังได้จัดสรรพื้นที่สีเขียวและพื้นที่กลางแจ้งอีกมากกว่า 7,000 ตารางเมตร โดยผสมผสานอยู่ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ทั่วทั้งโครงการ เพื่อให้ผู้ใช้ชีวิตใน The PARQ และผู้ที่มาติดต่อสามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ตลอดเวลาอีกด้วย
ซึ่งการเปิดตัวดีไซน์ของโครงการ The PARQ สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของโครงการที่จะสร้างสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ สามารถเข้าถึงทุกความสะดวกได้อย่างง่ายดาย ด้วยการมีทำเลทองที่ตั้งอยู่ติดกับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และยังเชื่อมต่อกับสถานี MRT ศูนย์สิริกิติ์และสวนเบญจกิติ
สำหรับภาพรวมด้านการออกแบบของโครงการในเฟสแรกนั้น แบ่งเป็นพื้นที่สำนักงานระดับเกรด A ‘The PARQ Workplace’ และพื้นที่ร้านค้าระดับพรีเมียม ‘The PARQ Life’
โดย The PARQ Workplace ประกอบด้วยอาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง และเชื่อมต่อกันในส่วนชั้นบน ด้วยการออกแบบรูปลักษณ์อาคารที่โดดเด่นของอาคาร คือขนาดพื้นที่ต่อชั้น (Floor Plate) ซึ่งปราศจากเสาภายใน (column-free) ขนาดใหญ่ถึง 5,000 ตารางเมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ รวมถึงเพดานสูงถึง 3 เมตร เพื่อสร้างความยืดหยุ่นแก่ผู้เช่าในการจัดสรรและออกแบบพื้นที่สำนักงานของตนเอง
ส่วน The PARQ Life เป็นแหล่งรวมร้านค้า ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์อาหาร บนพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด ‘Eat Well and Shop Well’ รวมไปถึงการนำเสนอบริการด้านสุขภาพและความงาม ตลอดจนร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “Life Well Balanced” ของ The PARQ Life ซุปเปอร์มาร์เก็ตภายในโครงการจะมุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอาหารปลอดสารพิษ อาหารเพื่อสุขภาพ
ในขณะที่ศูนย์อาหารจะเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคด้วยอาหารโซเดียมต่ำ ใช้น้ำตาลและน้ำมันในปริมาณที่น้อยกว่าอาหารปกติ เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ทำงานแห่งอนาคตที่จะช่วยสร้างเสริมให้บุคคลากรในองค์กรมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี ผลที่ตามมาคือการทำงานที่มีประสิทธิผลมากขึ้นและสามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ โครงการยังใช้คอนเซ็ปต์ ‘Build Well’ ผ่านบริการอัจริยะต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับมาตรฐาน LEED และ WELL อาทิ เครื่อง UV Emitter ตรวจจับรังสีอัลตราไวโอเลตเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศในอาคาร ระบบการความคุมและระบายอากาศบริเวณอาคารที่จอดรถ เซ็นเซอร์ตรวจสภาวะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในอากาศ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในห้องน้ำ และการออกแบบให้ภายในอาคารมีเสียงรบกวนต่ำที่สุด เป็นต้น ทั้งหมดนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมภายในอาคารที่เหนือระดับ
The PARQ ยังออกแบบตามมาตรฐานของWELL ซึ่งคำนึงถึงหัวใจสำคัญด้านสุขภาวะ คือ
อากาศ: ระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับคุณภาพอากาศ สร้างคุณภาพอากาศภายในอาคารให้ดีที่สุด
น้ำ: น้ำดื่มผ่านระบบการกรองที่ได้มาตรฐาน สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย
แสง: ร้อยละ 75 ของทุกพื้นที่ทำงานตั้งอยู่ภายในรัศมี 7.5 เมตรจากหน้าต่าง เพิ่มการเข้าถึงแสงจากธรรมชาติ
สุขภาพกาย: การให้ความรู้ผ่านการจัดสัมมนาเกี่ยวกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมห้องสมุดสุขภาพออนไลน์สำหรับทุกคนภายในโครงการ
สุขภาพจิต: ด้วยต้นไม้มากกว่า 350 ต้นภายในโครงการ ช่วยเติมเต็มความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในการเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม ส่วนด้านนอกอาคารจะใช้กระจกสะท้อนแสง Low-E มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ส่งผลให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ส่วนระบบแสงสว่างจะเป็นไฟ LED ที่ทำงานโดยระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับแสงอาทิตย์ ระบบฝ้าเพดานที่เก็บเสียง และมีกลไกควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารตลอดเวลา ตามมาตรฐานอาคารระดับโลกอย่าง LEED และ WELL
โดยโครงการมีกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้ามาทำงานและใช้บริการที่ The PARQ ถึง 15,000 คน และมีผู้ที่อยู่โดยรอบและภายในศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกราว 85,000 คน ทำให้พื้นที่แห่งนี้จึงมีศักยภาพสูงที่จะเติบโตและสร้างความสมบูรณ์แบบให้แก่ The PARQ ได้เป็นอย่างดี
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.theparq.com หรือ www.facebook.com/theparqbkk