“หมอบอย” ไม่ใช่หมอดูแต่รู้อนาคตนักลงทุนต้องเรียนรู้เทคโนโลยี Blockchain ที่จะมาเปลี่ยนโลก

  • 12.6K
  •  
  •  
  •  
  •  

เป็นที่ยอมรับแล้วว่าโลกดิจิทัลได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกสีน้ำเงินใบนี้เกือบสมบูรณ์แล้ว เห็นได้จากพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคน และดูเหมือนว่าด้านการเงินการลงทุนจะตอบรับเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว ช่วยให้รูปแบบการลงทุนง่ายขึ้น มีให้เลือกหลายหลายรูปแบบ นอกจากเรื่องความง่ายในการลงทุนแล้ว ความปลอดภัยก็เป็นอีกเรื่องที่การเงินการลงทุนให้ความสนใจ เทคโนโลยีจึงต้องเข้ามาช่วยเสริมความปลอดภัย

Puttipong 1

นพ. พุฒิพงศ์ ภูมิสุวรรณ หมอนักลงทุนยุคดิจิทัล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมความงาม AIC และผู้เชี่ยวชาญการลงทุนด้าน Cyptocurrency หรือ “หมอบอย” ชี้ว่า จากเหตุการณ์ที่สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ล้มและส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ทำให้สถาบันการเงินถูกลดความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะระบบการจัดการแบบมีศูนย์กลางเป็นที่น่าสงสัย หลายฝ่ายจึงสรรหาระบบทางการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางและมีความเสี่ยงข้อมูลสูญหายน้อยที่สุด

ไม่นานบุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสร้างระบบแบบไร้ศูนย์กลาง (Decentralized) หรือแบบกระจายตัว (Distributed) ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องมีเซอร์เวอร์ (Server) ได้สำเร็จ และระบบดังกล่าวเผยแพร่สู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรกในปี 2009 ที่เรียกกันว่า “ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อคเชน (Blockchain)”

บล็อกเชน (Block Chain) เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

สำหรับการทำงานของบล็อกเชน เป็นรูปแบบโครงข่ายข้อมูลที่ผู้ใช้งานทุกคนจะมีชุดข้อมูลถือไว้คนละ 1 ชุดอย่างเท่าเทียมกัน ทุกการทำธุรกรรม (Transaction) ระบบจะจัดเก็บข้อมูลไว้ที่ผู้ใช้ทุกคน โดยระบบจะสร้างรหัสลับเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถยืนยันตัวตน ซึ่งทุกการทำธุรกรรมจะต้องได้รับการยืนยันว่าถูกต้อง เมื่อมีการยืนยันครบตามจำนวนแล้วธุรกรรมนั้นถือว่า “สำเร็จ”

P m model19438 2 rt

จากนั้นข้อมูลการทำธุรกรรมใหม่จะถูกอัพเดทไปยังชุดข้อมูลของผู้ใช้ทุกคน โดยชุดข้อมูลนั้นจะเชื่อมโยงกันทั้งชุดข้อมูลเก่าและใหม่ รวมไปถึงเชื่อมโยงกับชุดข้อมูลของทุกคน หากข้อมูลของคนใดคนหนึ่งเกิดความเสียหาย ก็จะยังมีชุดข้อมูลเก็บไว้กับบุคคลอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ข้อมูลในระบบบล็อกเชน จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างถูกต้องพร้อมกันทั้งระบบ ทำให้ข้อมูลระบบบล็อคเชนยากต่อการโดนแฮคหรือการลักลอบโจรกรรม จึงมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก

ยกตัวอย่างเช่น หากแฮกเกอร์ต้องการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการโอนเงินมาหาตัวเอง จะต้องเข้าไปแก้ไขชุดข้อมูลของทุกคนที่อยู่ในบล็อคเชนจนถึงชุดข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งในระบบบล็อคเชนจะมีชุดคำสั่งเกิดขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่อง นั่นหมายถึงแฮกเกอร์จะต้องเปลี่ยนแปลงชุดข้อมูลของทุกคนในระบบและต้องเปลี่ยนแปลงทุกชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา หากแก้ไขข้อมูลเพียงชุดข้อมูลของคนเดียวโดยไม่แก้ทั้งระบบก็จะเกิดอาการ “บล็อคพัง” และจะไม่เกิดผลใดๆ ต่อแฮกเกอร์หรือก็คือ “เหนื่อยฟรี” นั่นเอง

DSC01140

หมอบอยยังได้ให้ข้อมูลอีกว่า “ปัจจุบันระบบบล็อกเชนถูกใช้กับการลงทุนเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ซึ่งสกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ บิทคอยน์ (Bitcoin) แต่เนื่องจากการลงทุนดังกล่าวยังไม่มีการอนุมัติหรือรับรองจากตัวบทกฎหมาย จึงทำให้คนคิดว่าการลงทุนในบิทคอยน์เป็นธุรกิจสีเทาและภาพลักษณ์ของบล็อคเชนก็ถูกมองในแง่ลบไปด้วย”

แต่สำหรับ หมอบอย เห็นว่า ระบบบล็อคเชนถือว่าเป็นระบบในอนาคตที่สามารถพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้งานกับวงการอื่นๆ ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยในระบบสาธารณสุข เช่น ประวัติข้อมูลการรักษาหรือการรับยา หากมีการเปลี่ยนหรือย้ายโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะต้องทำประวัติใหม่ ซึ่งเสียเวลามากในการรักษา

DSC01149

แต่ถ้าใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชนจะทำให้แต่ละโรงพยาบาลเข้าถึงฐานข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลก็จะเข้าถึงข้อมูลใหม่ได้ร่วมกันทั้งที่เก่าและที่ใหม่ ทำให้สามารถติดตามผลการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่สะดุดและยังสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ในภาคของธุรกิจต่างๆ ก็สามารถนำระบบบล็อกเชนเข้ามาใช้ได้ในหลายส่วน เช่น การจัดเก็บและขนส่งสินค้า การขาย รายรับรายจ่ายระหว่างสาขา ข้อมูลทางด้านการเงินต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าถ้าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จะก่อประโยชน์ได้อีกมาก


  • 12.6K
  •  
  •  
  •  
  •