นอกจากภาวะการแข่งขันที่รุนแรงแล้ว การจะยืนอยู่ได้บนเส้นทางธุรกิจสำหรับ SME ยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัญหาที่มักจะถูกหยิบมาเป็นประเด็นเสมอ ยังไม่รวมเรื่องต้นทุนแฝงจากการทำธุรกรรมทั้งค่าธรรมเนียม และเวลาที่ต้องเสียไป ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงกลับเป็นเรื่องใหญ่ จนบางครั้งอาจทำให้ SME ต้องเสียโอกาสทางธุรกิจเลยทีเดียว
“จะดีแค่ไหน หากช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แล้วให้ SME เอาสิ่งที่เสียไปแบบไม่จำเป็นไปใช้ในการขยายหรือต่อยอดธุรกิจ”
คำถามที่ทาง ‘รัชกร ชยาภิรัต’ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ TMB ตั้งขึ้นมา ก่อนจะเดินหน้าศึกษาตลาดและความต้องการลึกๆ ของ SME อย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาโซลูชั่นออกมาช่วยให้ SME ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาที่ถือเป็นอุปสรรคในการเดินหน้าธุรกิจอีกต่อไป และต่อยอดธุรกิจให้เติบโต “ได้มากกว่า”
“ที่ผ่านมา SME มักมีบัญชีหลายเล่มสำหรับทำธุรกรรม ทำให้แบงก์ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับวิเคราะห์ในการปล่อยสินเชื่อให้ และเจ้าของธุรกิจกว่า 70% ต้องเสียเวลาเดินทางไปทำธุรกรรมที่สาขาแบงก์ ครึ่งชั่วโมงหรือเป็นชั่วโมงขึ้นไป ยังไม่รวมต้นทุนที่เกิดจากค่าธรรมเนียมการนำฝากไม่ว่าจะเงินสดหรือเช็ค ในกรณีข้ามเขต ข้ามธนาคาร ที่ปี ๆ นึงคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายไปในหลักแสนบาทเลยทีเดียว”
รัชกรย้ำว่า สิ่งเหล่านี้ SME ไม่จำเป็นต้องเสีย และเป็นที่มาของการพัฒนาดิจิทัลโซลูชั่น “TMB SME One Bank” บัญชีเพื่อธุรกิจ SMEให้ลูกค้าสามารถโอน รับ จ่าย ข้ามเขต ข้ามธนาคาร ได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่จำกัดจำนวนเงิน รวมถึงดูยอด OD (Over Draft) , โอนเงินผ่านพร้อมเพย์ , โอนเงินไปต่างประเทศ จ่ายค่าสินค้าผ่านคิวอาร์ โค้ด ฯลฯ และจะได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อทำผ่านโมบายล์แอพพลิเคชั่น ‘TMB Business TOUCH’ ที่สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง และ TMB ถือเป็นแบงก์แรกที่พัฒนาโมบายล์แอพพลิเคชั่นสำหรับกลุ่มลูกค้า SME โดยเฉพาะ
94% ของผู้ใช้ชอบ ยืนยันว่าดีจริง
ด้วยการใช้งานที่ง่าย บวกกับการพัฒนามาจากความต้องการของลูกค้า ทำให้ปัจจุบัน TMB SME One Bank มีผู้ใช้ 35,000 ราย ขณะที่ TMB Business TOUCH มีผู้ใช้ราว 30,000 ราย และจากการสำรวจพบว่า 94% ของลูกค้าใช้แล้วชอบ เพราะใช้ง่ายและสะดวก ที่สำคัญ ใช้แล้วเห็นประโยชน์จริงและตอบโจทย์ทุกปัญหาที่ SME ต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนเรื่องค่าธรรมเนียม และประหยัดเวลา
นอกจากนี้ TMB SME One Bank ยังได้รับรางวัลเป็นสิ่งการันตีความสำเร็จ โดยปีที่ผ่านมา ได้รับรางวัล ‘SME Product of the year 2017’ จากงาน The Asian Banker Thailand Country Awards 2017 จัดโดยThe Asian Banker วารสารชั้นนำด้านการเงินการธนาคารในภูมิภาคเอเชีย
“การใช้บัญชีธุรกิจ TMB SME One Bank คู่กับ TMB Business TOUCH เป็นแฟลกชิพ โซลูชั่นในกลุ่ม SME ของเรา ซึ่งในอนาคตจะมีฟีเจอร์ใหม่ให้ SME ทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น เช่น คิวอาร์ โค้ด รับเงินโอนแทนเงินสด อีกฟีเจอร์ที่มาจาก insight ของลูกค้า หากลดเงินสดตรงนี้ได้ เจ้าของธุรกิจจะได้เอาเวลาไปขยายธุรกิจได้ และตรงกับทิศทางของไทยที่กำลังเดินสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)นอกจากนี้เราได้ร่วมกับพันธมิตรพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ขึ้นมาชื่อว่า สบายช้อป (Sabuy Shop) ช่วยให้ลูกค้ามีแอพพลิเคชั่นไว้สำหรับรับการชำระเงินด้วย QR Code รวมถึงช่วยบริหารสต๊อคสินค้าภายในร้านทั้งหมด ที่เจ๋งไปกว่านั้น คือ แอพพลิเคชั่นตัวนี้สามารถบริหารร้านที่มีหลายสาขาได้ โดยแยกสิทธิ์ในการเข้าดูข้อมูลให้แต่ละสาขาได้”
เติม Viral clip เสริมทัพการตลาด
ขณะที่การทำตลาดต่อจากนี้ ทาง รัชกร บอกว่า จะเน้นสื่อสารให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ TMB SME One Bank โดยเน้นโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเข้าถึง SME รุ่นใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ทาง TMB ต้องการ
ช่องทางออนไลน์ที่ว่า อาทิเช่น เวบไซต์ , เฟสบุ๊ค ,ยูทูป ฯลฯ ในการให้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงนำเอาลูกค้าจริงที่ใช้มาบอกต่อถึงประโยชน์ที่ได้รับ และล่าสุดได้ดึง ‘เพจเสือร้องไห้’ มาทำ Viral clip สื่อถึงความต้องการและปัญหาที่ SME ต้องเผชิญ พร้อมกับสอดแทรกว่า ตัวโปรดักท์จะเข้าไปแก้ปัญหาได้อย่างไร โดย Viral clip นี้ จะเน้นสื่อสารแบบง่าย ๆ สนุกสนาน ไม่ซับซ้อน เพื่อให้ SME เข้าใจโปรดักท์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
“เราทำและลองสิ่งใหม่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง เพราะเราอยากโตไปพร้อมกับลูกค้า โดยเราตั้งเป้าจะมีคนใช้ TMB SME One Bank ราว 100,000 รายในสิ้นปีนี้”
สำหรับ SME ที่สนใจบัญชีเพื่อธุรกิจ ‘TMB SME One Bank’ สามารถเปิดบัญชีใหม่ได้ที่สาขา TMB ทั่วประเทศ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.tmbbank.com/sme/open-account/sme-one-bank.html หรือติดต่อศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME โทร. 02-828-2828 ทุกวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 8.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดธนาคาร