แนวทางแก้ไขที่ผู้บริหารควรทราบ เมื่อไทยติดอันดับ 15 ของโลกในด้านความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์

  • 110
  •  
  •  
  •  
  •  

HL Fin

บริษัท CISCO ประเทศไทย ได้จับมือกับ A.T Kearny เผยข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาล่าสุดในเรื่อง “ภัยคุกคามไซเบอร์ของภูมิภาคอาเซียนและไทย” ซึ่งในงานแถลงได้พบข้อมูลน่าสนใจหลายประการ รวมถึงแนวทางแก้ไขที่เหล่าผู้บริหาร ควรเตรียมตัวรับมือให้พร้อม เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

อาเซียนภูมิภาคที่กำลังเป็นเป้าหมายใหม่ของเหล่าแฮ็คเกอร์กับความเสี่ยงมูลค่ากว่า 7 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์

นายกาเร็ธ เพอไรร่า, ผู้อำนวยการด้านการสื่อสาร มีเดีย และเทคโนโลยีของ เอ.ที. เคียร์เน่ (2)

Mr.Gareth Pereira ผู้อำนวยการด้านการสื่อสาร มีเดีย และเทคโนโลยี ของ A.T. Kearny ได้ถึงประเด็นนี้ว่า เนื่องจากหลากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ให้ความสำคัญกับ Digital Economy มากขึ้น ทำให้ภูมิภาคนี้เป็นเป้าหมายใหม่ในการโจมตีของเหล่าแฮ็คเกอร์ไปโดยปริยาย แต่ผลการศึกษานั้นพบเรื่องน่าตกใจ เพราะจำนวนค่าใช้จ่ายในด้าน Cyber Security ของประเทศในภูมิภาคนี้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยมีการใช้จ่ายเพียง 0.07% ของ GDP ในแต่ละปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายกว่า 7 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์

ไทยติดอันดับ 15 ของโลก ในการเป็นประเทศที่เสี่ยงถูกโจมตีจากทางไซเบอร์

นายไซมอน ชอง, ผู้อำนวยการด้านความปลอดภัยของซิสโก้ประจำภูมิภาคอาเซียน (2)

ไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าสู่ยุค Digital Transformation อย่างเต็มตัว มีการใช้และทดลองเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง AI, AR, IOT ให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งปัญหาด้าน Cyber Security ของไทยนั้นก็มีเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDTA) เผยว่า สถิติการรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์ของไทยในปี 2559 คือ 3,798 ครั้ง ซึ่งนั่นก็เพียงพอที่จะทำให้ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ต่ำกว่ามาตรฐาน และติดอันดับ 15 ของโลกในเรื่องประเทศที่มีความเสี่ยงด้านไซเบอร์

แนวทางแก้ไขที่ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนควรทราบ

นาย วัตสัน ถิรภัทรพงศ์, กรรมการผู้จัดการซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน (2)

นาย วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ CISCO ประเทศไทย ได้สรุปถึงแนวทางที่เหล่าผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยควรปฏิบัติ เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ดังนี้

  • 1. พัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน Cyber Security
  • 2.เสริมสร้างขีดความสามารถด้าน Cyber Security
  • 3.ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือป้องกันและสร้าง Eco System ร่วมกัน
  • 4.ใน 8 ปีต่อจากนี้ประเทศไทยควรลงทุนค่าใช้จ่ายในด้าน Cyber Security ประมาณ 23.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น 0.05 % ของ GDP ซึ่งใกล้เคียงกับมาเลเซีย และฟิลิปปินส์
  • 5.ยกระดับกฎหมายและความพร้อมในด้าน Cyber Security ให้ดียิ่งขึ้น

ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มบุคลากรด้าน Cyber Security เป็นจำนวน 12,000 คน ภายในปี 2664


  • 110
  •  
  •  
  •  
  •