ตลอดปี 2017 ที่ผ่านมา มีแบรนด์ขนม อาหาร และเครื่องดื่มมากมาย ฝุดอย่างกับดอกเห็ดสวนกระแสเศรษฐกิจบ้านเราค่อนข้างเห็นได้ชัด บางแบรนด์ก็ล้มหายตายจาก บางแบรนด์ก็ยังอิตไม่เลิก มีชาวโซเชียลมีเดียแห่ตามไปกิน แห่กินแชร์ลงใน Face Book , Instagram และ Twitter จนกลายเป็นกระแสที่คนต้องตามไปกินและเช็คอินพร้อมรูปสวย ๆ สักครั้งให้ได้ในชีวิต
ช่วงใกล้สิ้นปีแบบนี้เราจึงชวนเพื่อน ๆ มาดูกันว่า 10 แบรนด์อาหารเจ้าไหนเด็ด เจ้าไหนโดน ที่ต้องไปตามกินให้ได้ พร้อมเทคนิคจากกูรูด้านการตลาด มาคอยช่วยบอกเคล็ดไม่ลับการสร้างแบรนด์อาหารอย่างยั่งยืน รับรองยอดแชร์ไม่หาย แถมได้ฐานแฟนคลับอีกด้วย
1.Cafe Bora
คาเฟ่สำหรับคนรักมันม่วงที่โด่งดังมาจากประเทศเกาหลีใต้ ช่วงที่ร้านนี้เข้ามายังประเทศไทยใหม่ ๆ ทำเอากระแสขนมที่ทำจากมันม่วงต่างได้รับความสนใจไปตาม ๆ กัน ส่วนซิกเนเจอร์ร้านนี้คือ บิงซูมันม่วง กับ ไอศกรีมมันม่วงนั่นเอง
2.kinza Gyoza
เกี๊ยวซ่าเครื่องแน่นที่ใครหลายคนต่างพูดถึง เกี๊ยวซ่าของที่นี่จะไม่ใช่การทอดโดยตรง แต่จะเป็นการเพียงด้านเดียว หลังจากนั้นเติมน้ำปล่อยไว้จนน้ำแห้งและสุก ถือเป็นการเปิดประสบการณ์การกินเกี๊ยวซ่าอีกหนึ่งรูปแบบที่ดีมาก
3.Happy Cheese Toast
ขนมปังปิ้งที่สอดไส้ด้วยมอสซาเรลล่าชีสสีรุ้ง!!! ทำเอาใครหลายคนต่างร้องว้าวและตามไปกินพร้อมถ่ายคลิปสั้น ๆ ให้เห็นถึงความยืดของชีสหลากสีสัน
4.GODIVA
ไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟดาร์กช็อกโกอันเลื่องลือจากประเทศเบลเยี่ยมที่มีอายุยาวนานถึง 100 ปี ซึ่งต้องบอกว่าเป็นซอฟท์ไอศกรีมซุปเปอร์พรีเมี่ยมทั้งด้านรสชาติและราคาที่หลายคนตั้งตารอ
5.Bake Cheese Tart
ชีสทาร์ตจากฝั่งฮอกไกโด เนื้อแป้งกรอบกำลังดี ไส้ชีสเนื้อละมุน และสามารถทานได้ถึง 4 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นทานในอุณหภูมิปกติ แช่เย็น แช่แข็ง หรือแบบอุ่นก็ได้
6.Pablo Cheese Tart
ปีนี้เป็นปีแห่งชีสจริง ๆ ตัวนี้เป็นชีสทาร์ตฝั่งโอซาก้าแป้งบางแต่กรุบกรอบ มาพร้อมด้วยชีสเนื้อนุ่มเด้งดึ๋ง ถ้าชอบชีสทาร์ตแป้งบางเนื้อเน้นต้องตัวนี้เลย
7.KOI Cafe
ชาไข่มุกสไตล์ไต้หวัน โดนเด่นด้วยรสชาติสูตรพิเศษที่ได้จากชาต้มที่เก็บไว้เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
8.ชาตรามือ
นึกถึงชาตรามือก็ต้องนึกถึงชากุหลาบ ชาที่แทบทุกคนต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า มันมีสรรพคุณคล้ายยาระบาย นอกจากนี้ชาตรามือหลังจากรีแบรนด์ มีความเป็นวัยรุ่น ทำให้ผู้คนต่างชอบทานเพิ่มขึ้น
9.Yogurt Jelly
เยลลี่ยาคูลท์สุดฮิตจากเกาหลีฮิตยาวมาถึงประเทศไทย ด้วยแพคเกจจิ้งรูปขวดยาคูลท์ และรสชาติมีความเปรี้ยวอมหวานนิด ๆ ทานง่าย ทำให้บรรดาผู้ใหญ่และวัยรุ่นต่างชอบซื้อมากินกัน
10.เจ๊ไฝ
ร้านดังตอนรับสิ้นปี เจ๊ไฝร้านสตรีทฟู้ดที่เพิ่งคว้าหนึ่งดาวมิชลินเมืองไทยไม่หมาาด ๆ จากเดิมที่เคยโด่งดังทั้งเรื่องราคาและรสชาติอยู่แล้ว ล่าสุดปิดรับออเดอร์ตั้งแต่ร้านยังไม่เปิด คนอยากรู้ว่าเด็ดดวงขนาดไหน ต้องไปลองสักครั้งในชีวิต
ปัจจุบันแบรนด์ธุรกิจมีการแข่งขันถือว่าสูงมาก หลายแบรนด์ขายสินค้าตามกระแส ฮิตบ้างไม่ฮิตบ้าง ไม่ใช่แต่แบรนด์เล็ก ๆ แบรนด์ใหญ่ ๆ ยังล้มมาแล้วเลย ดังนั้นเราจะมาเผยเคล็ดไม่ลับจากอาจารย์เอกก์ ภทรธนกุล กูรูด้านการตลาด แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการมัดใจลูกค้า
7 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ธุรกิจอาหารที่ยั่งยืน
1. รู้จัก คือ ลูกค้าต้องรู้จักแบรนด์เราก่อน ว่าเราทำอะไรอย่างไร
2. มีความรู้ ความเข้าใจแบรนด์ คือ ลูกค้ารู้ประวัติความเป็นมาของร้าน คอนเซ็ปต์ของแบรนด์ และสินค้าคืออะไร
3. ชอบ คือ ลูกค้าเกิดการชื่นชอบในแบรนด์และตัวสินค้า ควรสร้างกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
4. ซื้อ คือ ลูกค้าลองซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งจุดหากลูกค้าประทับใจจะเกิดการซื้อซ้ำ
5. ซื้อซ้ำ คือ ลูกค้าชอบหรือติดใจบริการ ควรมีโปรโมชั่นในวันสำคัญ การสะสมแต้ม หรือมีส่วนลด ในการดึงดูดใจลูกค้า
6. บอกต่อหรือแชร์ ควรสร้างพิกัดร้านหรือแฮชแท็กในโชเซียลมีเดียหลาย ๆ ช่องทาง ลุกค้าส่วนใหญ่มักบอกต่อผ่านโลกออนไลน์มากกว่าบอกแบบปากต่อปาก และเป็นการบอกแบบกระจายวงกว้าง
7. แฟนคลับของแบรนด์ (loyalty) นอกจากสินค้า บริการ และโปรโมชั่นที่ดีมีคุณภาพแล้ว การช่วยเหลือสังคมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ซึ่งลูกค้ามักจะปกป้องคนที่เขาเห็นว่าดี หรือเรียกอีกชื่อว่า “ติ่ง” นั่นเอง
3 ส. สร้างจุดสนใจ ยอดแชร์พุ่ง
- สดใหม่ คือ สินค้ามีความแปลกใหม่ และแตกต่าง
- สร้างสรรค์ คือ ตัวสินค้า โฆษณา ร้าน หรือบรรจุภัณฑ์ต้องมีความสร้างสรรค์
- สืบเสาะ คือ ต้องเป็นสินค้าหรือร้านต้องหาอาจจะยากนิดนึง เพื่อสร้างความท้าทายให้ลูกค้า
ทั้งนี้ อาจารย์เอกก์ ยังแนะนำอีกว่าสื่อออนไลน์คือช่องทางที่เหมาะแก่การกระจายข่าวสารของแบรนด์มากที่สุด เนื่องจากราคาถูก แชร์รวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือสูง สามารถดึงดูดลูกค้าได้ง่าย เนื่องจากมีฟีดแบค ส่วนสำหรับแบรนด์ธุรกิจอาหารเจ้าไหนรู้สึกว่าร้านเงียบเหงาอยากให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างเคย สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร” หากแก้ไม่ถูกจุดอาจพบจุดจบก็เป็นได้