หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0

  • 2.6K
  •  
  •  
  •  
  •  

shutterstock_524072125

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือยุคของดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ส่งผลให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องการงานหรือการใช้ชีวิต หรือที่เรารู้จักในชื่อที่คุ้นหูมาอยู่ระยหนึ่งที่นิยมเรียกว่า IoT (Internet of Things) ทุกสิ่งสามารถเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อดีของ IoT คือการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

สอดคล้องกับแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ที่สนับสนุนด้านการพัฒนาเชิงดิจิทัล เพื่อให้องค์ความรู้ต่างๆ สามารถเข้าถึงทุกคน โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่เรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย ถึงขนาดขนานนามประเทศไทยว่าเป็น “ครัวของโลก” แต่ทว่าเรากลับละเลยภาคการเกษตรที่เป็นหัวใจหลักของประเทศไทย

จากการเข้าหารือของผู้บริหารอาวุโสของ หัวเว่ย กับนายกรัฐมนตรีที่มีนโยบายให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของเกษตรกรรม, การท่องเที่ยวและสังคมผู้สูงอายุ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ หัวเว่ย ที่มองเห็นถึงศักยภาพการพัฒนารูปแบบดิจิทัลใน 3 กลุ่มดังกล่าว จึงได้ร่วมกันพัฒนาเนื้อหากับบริษัท โรแลนด์ เบอร์เกอร์ (Roland Berger)

ในการจัดทำรายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย Thailand Digitalization Whitepaper ในหัวข้อเจาะลึกเรื่องดิจิทัลในอุตสาหกรรมไทย : ดิจิทัลโรดแม๊ปเพื่อสังคมสูงอายุ (Aging Society), ภาคการเกษตร (Agriculture) และภาคการท่องเที่ยว (Tourism)

Photo 1-6-60 09 11 25

หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยพบว่า ประเทศไทยขึ้นอันดับเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก แต่ประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างอินเดียและเวียดนามพร้อมขึ้นแซงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เสมอ ทั้งที่ในภาคการเกษตรของไทยมีประชากรถึง 1 ใน 3 ของประเทศ

Photo 1-6-60 09 55 29

เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของภาคการเกษตร หัวเว่ยจึงได้ร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) กับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการจัดทำรายงานเชิงลึกการพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัลของประเทศไทย Thailand Digitalization Whitepaper ที่ Huawei ได้ร่วมมือกับ Roland Berger

ซึ่งเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้กับภาครัฐ โดยชี้ให้เห็นปัญหาสำคัญของภาคการเกษตรว่าเกษตรกรยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพในการ ผลิต รวมไปถึงเทคโนโลยีในการเปิดช่องทางใหม่เพื่อค้าขายให้ทันกับโลกยุคดิจิทัล

เนื่องจากการเกษตรในรูปแบบเดิมเป็นการคาดการณ์ธรรมชาติเป็นหลัก โดยอาศัยหลักปฏิบัติตั้งแต่โบร่ำโบราณ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความเสี่ยงสูงเพราะสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และเป็นสาเหตุหลักที่เกษตรกรไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด ขณะที่การเข้าถึงข้อมูลเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับเกษตรกร

Photo 1-6-60 11 17 59

ด้วยเหตุนี้การจะเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ และการเข้าถึงข้อมูลในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี รวมไปถึงการนำนวัตกรรมด้านการเกษตรเข้ามาผสมผสานกับแนวทางปฏิบัติของเกษตรกรที่มีมาแต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะในยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสภาพดินฟ้าอากาศ คุณภาพดิน ปริมาณน้ำและระยะเวลาในการเก็บผลิต นอกจากนี้นวัตกรรมด้านดาวเทียมและ Automation ก็มีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้ปุ๋ยอัตโนมัติ หรือการรดน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค 4.0 นอกจากจะช่วยเพิ่มผลลิตแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิต และยังลดต้นทุนทั้งในแง่แรงงานและปุ๋ยได้อีกด้วย

ไม่เพียงในด้านการผลิตเท่านั้น เกษตรกรในยุค 4.0 ยังสามารถใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในการเข้าถึงตลาดได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะการขายแบบผู้ขายถึงผู้ซื้อ (End to End) ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ทั้งโลกโซเชียลและช่องทางที่ในอนาคตภาครัฐอาจเปิดให้เป็นศูนย์กลางตลาดสินค้าการเกษตร

Photo 1-6-60 11 17 12

แน่นอนว่าเมื่อเกษตรกรเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและมีการใช้นวัตกรรมเพื่อการเกษตรผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณค่าให้กับสินค้าการเกษตรและสามารถตอบสนองความต้องการในด้านคุณภาพของผลผลิต เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร และเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการขายสินค้า ก็เท่ากับไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซื้อผู้ซื้อจะสามารถซื้อได้ในราคาเป็นธรรม ขณะที่เกษตรกรก็สามารถขายได้เต็มราคาตามที่ต้องการ เรียกว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยตอบสนองความต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ที่สำคัญช่องทางอินเทอร์เน็ตยังเป็นอีกช่องทางในการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยไปยังต่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมทางการเกษตร ยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับตลาดต่างประเทศถึงคุณภาพที่ได้รับจากผลผลิตทางการเกษตรของไทย เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตของเกษตรกรและประเทศไทย


  • 2.6K
  •  
  •  
  •  
  •