อย่างที่รู้กันว่า e-Commerce ของประเทศไทยกำลังเติบโต ไม่ว่าจะแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ ต่างนำเสนอช่องทางออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า แต่แค่เลือกซื้อได้สะดวกก็ยังพอไม่ วันนี้เราจึงได้เห็นการเปิดตัว “Shopback” เว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น “คืนเงิน” ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันนี้
“เราคือผู้ให้บริการเว็บและแอปคืนเงินสด หลังจากเปิดตัวมาแล้ว 5 ประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ล่าสุดก็พร้อมเปิดตัวในประเทศไทย กับแนวคิดการให้เงินคืน (Cashback) ซึ่งได้รับคามนิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา โดยเราเป็น Affiliate Marketing ทำหน้าที่ตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างร้านค้าชั้นนำทั้งจากในและต่างประเทศสู่นักช้อปชาวไทย” กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ Shopback ประจำประเทศไทย อธิบายความหมายของบริการแบบ Affiliate ในสไตล์ Shopback
แค่นี้ยังไม่พอ เราขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ “Shopback” พร้อมกับการให้บริการใหม่ในรูปแบบ Affiliate Marketing ให้มากขึ้น ผ่าน 10 เรื่องราวของเว็บคืนเงิน…!
1. Shopback เปิดตัวครั้งแรกในปี 2557 ที่ปสิงคโปร์ ก่อนจะขยายไปอีก 5 ประเทศ รวมถึงไทยเป็นประเทศล่าสุด ซึ่งทาง Shopback ก็ตั้งเป้าจะขยายบริการให้ครอบคลุมประเทศอื่นๆ ในเอเชียต่อไปด้วย
2. รูปแบบการใช้งานของ Shopback คือการเข้าสู่ระบบเพื่อไปช้อปปิ้งออนไลน์ สั่งอาหาร จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก หรือใช้บริการจากพาทเนอร์ทางธุรกิจของเว็บคืนเงินดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 1,300 ร้านให้คุณเลือก (มีร้านค้าของคนไทยประมาณ 100 ร้าน และ Shopback ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 500 ร้านได้ภายในช่วงสิ้นปีนี้) โดยคุณสามารถเข้าใช้บริการ Shopback ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น Shopback และเข้าไปที่ร้านค้าที่คุณต้องการช้อปปิ้ง จากนั้นก็รับคืนเงินโดยอัตโนมัติเข้าสู่กระเป๋าเงินออนไลน์ (E-Wallet) และสะสมจนกว่าจะถึงยอดเงินที่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้
3. จำนวนเงินขั้นต่ำที่ลูกค้าสามารถใช้บริการขอคืนเงินผ่านบัญชีธนาคารได้นั้น อยู่ที่ 250 บาท ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในการรับเงินเข้าบัญชีธนาคารตามที่ลงทะเบียนเอาไว้ในระบบกระเป๋าเงินออนไลน์
4. ส่วนระยะเวลาในการยืนยันการซื้อสินค้า เพื่อให้ระบบโอนเงินเข้ากระเป๋าเงินออนไลน์นั้น ต้องใช้เวลาประมาณ 1-45 วัน
“อัตราการเงินคืนที่ลูกค้าจะได้จากการซื้อสินค้าและบริการผ่านแพลทฟอร์มของเราอยู่ที่ 0.5-30% การซื้อในแต่ละครั้งจะมีอัตราเงินคืนแตกต่างกันไป แต่เรามั่นใจว่ากระแส e-Commerce ในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยม ซึ่งจะทำให้มีผู้บริโภคสนใจใช้บริการ Shopback ไม่น้อยกว่าที่เปิดให้บริการในประเทศอื่นๆ”
5. ผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมายของ Shopback คือ นักกิน นักช้อป หรือแม้แต่นักท่องเที่ยว ที่นิยมซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์นั่นเอง
6. ส่วนพาทเนอร์ทางธุรกิจของ Shopback ขณะนี้ ได้แก่ Expedia , Booking.com , Sephora , Lazada , Grab , Uber ฯลฯ
7. สำหรับ 3 หมวดที่ผู้ใช้บริการ Shopback ทั่วโลกนิยมใช้งาน ได้แก่ ไลฟ์สไตล์ เช่น จองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน , ช้อปปิ้งออนไลน์ การซื้อสินค้าและบริการต่างๆ , แฟชั่น
8. ปัจจุบัน Shopback มีผู้ใช้บริการกว่า 3 ล้านคน มีจำนวนการสั่งสินค้ากว่า 1,000 รายการต่อชั่วโมง
9. โดย อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีการคืนเงินให้ลูกค้ามากที่สุด ถึงประมาณ 350 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมาก
10. เพิ่งเปิดตัวในช่วงกลางปี แต่เป้าหมายที่ Shopback ตั้งเป้าก็คือ “สามารถคืนเงินให้ลูกค้าชาวไทยได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านภายในสิ้นปีนี้”
“บริการรูปแบบนี้อาจยังมีไม่มากนักในประเทศไทย แต่เราพยายามนำเสนอแนวคิดและทำความเข้าใจถึงแนวคิดของ Shopback ในการเป็นผู้ให้บริการแพลทฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์และได้เงินคืน และแม้ว่าจะมีคู่แข่งขันที่ให้บริการในลักษณะเดียวกันแต่เราก็มั่นใจว่าช่องทางของเราสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทั้งความคุ้มค่า และตอบโจทย์แบรนด์ได้ดีเนื่องจากเราไม่คิดค่าธรรมเนียมหากไม่มีการยืนยันซื้อ ซึ่งเชื่อว่าเราจะเติบโตได้ทุกปีตามเป้าหมายและเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาด e-Commerce ในไทย”