ขาดทุนยับ! ถ้าไม่รู้จักทำสินค้าตอบโจทย์ นี่คือ 3 วิธี ทำสินค้าที่ใช่และเอาทุนคืนไม่ยาก

  • 184
  •  
  •  
  •  
  •  

หลายครั้งเราอยากขายสินค้าขายดี หรือทำสินค้าที่คิดว่าต้องขายดีแน่ๆ แต่ความจริงสินค้ากับไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ทำให้ธุรกิจของเราเสี่ยงกับการจมทุนโดยไม่จำเป็น และต้องนั่งคิดหาสาเหตุว่าทำไมธุรกิจของเราถึงไม่ประสบความสำเร็จ

ธุรกิจที่มีสินค้าที่ไม่ใช่ ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของเราล้มเหลว แต่ขอให้มองว่าเรากำลัง “ทดลอง” สินค้าตัวนั้น เมื่อการทดลองนั้นพลาดไป ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้

คำถามคือเราต้องเรียนรู้อะไรบ้าง? นี่คือ 3 คำถามหลักๆที่เราต้องตอบให้ได้ก่อนลุกขึ้นออกแบบสินค้าใหม่และสู้อีกครั้ง

 

pft

1. จริงๆแล้วลูกค้า “ไม่” ต้องการอะไรกันแน่?

เราต้องรู้ว่าตอนนี้ลูกค้ามีปัญหาอะไรอยู่? มีอะไรที่ทำให้ลูกค้าหงุดหงิดกวนใจอยู่? สินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในตลาดทำให้ลูกค้าไม่พอใจตรงไหน? ลองเขียนตอบออกมาเป็นรายการดูก่อน และลองเรียงลำดับดูว่าปัญหาความไม่พอใจข้อไหนที่สำคัญกับลูกค้ามากที่สุด

อย่าลืมว่าคำตอบที่เราได้มา มันยังเป็นการ “นั่งเทียนเขียน” อยู่ เป็นการคาดเดา เพราะเราไม่ได้เป็นตัวแทนของลูกค้าในตลาดจริงๆ ดังนั้นก่อนที่จะฟันธงว่าคำตอบของเราถูกต้อง ให้ออกไปถาม(หรือสังเกต)ลูกค้าที่เคยใช้สินค้าของเราหรือกำลังใช้สินค้าอื่นๆที่ใช้อยู่ว่ามีปัญหาในการใช้งานหรือไม่เราจะได้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น ได้คำตอบมากขึ้น เช็คคำตอบของเราว่าเข้าใจถูกหรือไม่

การทำแบบนี้จะช่วยให้เราไม่ต้องออกแบบฟีเจอร์ของสินค้าที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วออกแบบฟีเจอร์ที่จำเป็นใส่เข้ามา

 

2. มีอะไรที่ลูกค้าต้องการจริงๆบ้าง?

ข้อนี้ไม่เหมือนข้อ 1 ที่สินค้าของเราต้อง “กำจัด” สิ่งกวนใจ แต่ข้อ 2 นี้เราต้องคิดให้ได้ว่าเวลาที่ลูกค้าใช้สินค้าอื่นที่มีอยู่ในตลาด ลูกค้าได้ประโยชน์อะไร “เพิ่ม” ขึ้นมาบ้าง ประโยชน์นั้นสำคัญมากแค่ไหน?

และทำเหมือนข้อ 1 เลย ลองเขียนตอบออกมาเป็นรายการดูก่อน ลองเรียงลำดับว่าประโยชน์อะไรที่สำคัญกับลูกค้ามากที่สุด ออกไปถามลูกค้าเพื่อเข้าใจ เช็คคำตอบ และได้คำตอบมากขึ้น

ไม่เสี่ยงออกแบบสินค้าที่ไม่ตอบโจทย์

 

3. สุดท้ายแล้ว “คุณค่า” ของสินค้าที่เราขายคืออะไร?

เพราะลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ในการใช้งาน หากสินค้าหรือบริการของเราแก้ปัญหาความกวนใจออกไปจากชีวิตและให้ประโยชน์กับชีวิตลูกค้าได้ สินค้าเราจึงมี “คุณค่า” พอในสายตาลูกค้าในที่สุด

valueprop-3

คุณค่าของสินค้าที่ลูกค้าจะได้รับไล่ไปตั้งแต่การใช้งาน อารมณ์ไปจนถึงเปลี่ยนชีวิต

 

ฉะนั้น เราต้องอธิบายให้ได้ว่าลูกค้าจะกำจัดปัญหาและได้ประโยชน์จากสินค้าในที่สุดได้อย่างไร? เพราะ“คุณค่า” นี่แหละที่เป็นพื้นฐานของการออกแบบสินค้าและบริการที่ “ใช่” ทั้งหมด

 

 

valueprop-5

แล้วเราค่อยออกแบบพัฒนาฟีเจอร์ที่แก้ปัญหาและเพิ่มประโยชน์ให้ลูกค้า

 

 

หลังจากที่เรามีลิสต์ปัญหาและประโยชน์ของลูกค้าเรียงความสำคัญมากไปน้อยแล้ว และรู้แล้วว่าคุณค่าของสินค้าคืออะไร อย่างไรก็ตามคำตอบที่ว่าก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เราจึงควรทำ “Prototype” หรือสินค้าจำลองต้นทุนต่ำให้ลูกค้าได้ทดลองใช้

เพราะหากลูกค้าไม่ชอบขึ้นมา เราจะได้เรียนรู้และเข้าใจลูกค้ามากขึ้น กลับไปทบทวนคำตอบ ทำสินค้าจำลองตัวใหม่ให้ลูกค้าทดลองใช้ วนไปจนกว่าจะได้คำตอบที่ใช่และนิ่งที่สุด แล้วค่อยทำสินค้าตัวจริงออกวางขาย ยิ่งพลาดเร็ว ยิ่งได้เรียนรู้เร็ว ยิ่งได้สินค้าตัวสมบูรณ์แบบเร็ว และประสบความสำเร็จในที่สุดแบบประหยัดเงินด้วย

 

valueprop-1

หาปัญหาที่ลูกค้าเจอ ประโยชน์ที่ลูกค้าอยากได้ ออกแบบสินค้าต้นแบบให้ทดลองใช้ ถ้าลูกค้าลองใช้แล้วไม่ชอบตรงไหน ก็เรียนรู้และพัฒนาสินค้าต้นแบบตัวใหม่วนไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกค้าตัวแทนจะชอบในที่สุด

เท่านี้เราก็จะได้สินค้าที่ใครๆในกลุ่มเป้าหมายก็อยากได้แล้ว

 

แหล่งที่มา

https://www.invisionapp.com/blog/designer-value-proposition/


  • 184
  •  
  •  
  •  
  •  
Sarunjade
แชร์มุมมองเกี่ยวกับ Digital Marketing, Digital Business และ Technology เท่าที่รู้ สามารถติชมหรืออยากให้เจาะลึกเรื่องไหนเป็นพิเศษ ส่งเมลมาเลยที่ contact@oopsnetwork.co.th