เพราะเมื่อสตาร์ทอัพของคุณดำเนินการมาถึงจุดหนึ่ง คุณก็ต้องทำไอเดียที่คุณกับทีมให้เป็นจริงเสียที “เงิน” จึงเป็นสิ่งที่เราเลี่ยงไม่ได้ แต่เราจะหาได้อย่างไรก่อนที่เราจะขายของได้ล่ะ?
วันนี้เราจะพาไปรู้จักวิธีการหาเงินของสตาร์ทอัพ ในแต่ละรอบของการหาเงินจะมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่ Seed Round, Series AB และ C สตาร์ทอัพจะได้เงินในแต่ละรอบจากกองทุนของผู้ร่วมลงทุนที่โฟกัสไปที่ความสามารถในการขยายกิจการของแต่ละสตาร์ทอัพ
รู้แบบนี้แล้ว ไปรู้จักรอบการหาเงินแต่ละรอบของสตาร์ทอัพกัน
Seed Round
ให้เงินกับสตาร์ทอัพที่ต้องการพัฒนาสินค้าในระยะเริ่มต้น ดังนั้นสตาร์ทอัพที่คิดจะหาเงินในรอบนี้จะต้องมีแนวคิดคอนเซ็ปท์ชัดเจน มีตลาดรองรับ แต่ยังไม่ได้เริ่มพัฒนาต้นแบบ หากสตาร์ทอัพได้เงินในรอบนี้ต้องรีบพัฒนาแนวคิดเป็นสินค้าให้เร็วและตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้วย
Series A
สตาร์ทอัพในรอบนี้จะมีตัวต้นแบบเรียบร้อยแล้ว และเตรียมหาเงินทุนจากกลุ่มนักลงทุนร่วมเพื่อเอาสินค้าที่พัฒนาแล้วเข้าตลาด แน่นอนเงินที่สตาร์ทอัพจะได้ในรอบนร้จะต้องมากกว่ารอบ Seed Round ระหว่าง 3-7 ล้านเหรียญแลกกับส่วนแบ่งของกิจการ ฉะนั้นสตาร์ทอัพในรอบนี้จะต้องหาโมเดลธุรกิจที่ดีที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพของตัวเองและรีบหาทางเอาสินค้าไปขายให้เร็วที่สุด
Pomelo สตาร์ทอัพขายเสื้อผ้าแฟชั่นออนไลน์ได้เงินทุนจากรอบ Series A เมือเดิอนตุลาคมปี 2016
Series B
เมื่อสตาร์ทอัพเข้าสู่รอบนี้ นั่นหมายความว่าสตาร์ทอัพมีสินค้า มีโมเดลธุรกิจและต้องการเงินทุนไปขายสินค้าในตลาดที่กว้างกว่านี้ เงินที่ได้จะต้องมากว่ารอบก่อนประมาน 7-50 ล้านเหรียญเลยทีเดียว
PriceZa สตาร์ทอัพเปรียบเทียบราคาและเช็คราคาล่าสุดก่อนซื้อสินค้า ได้เงินทุนจากรอบ Series B เมื่อเดือนกันยายน ปี 2016
Wongnai กิจการบริการค้นหาและรีวิวร้านอาหาร ได้เงินทุนจากรอบ Series B เมื่อเดือนเมษายน ปี 2016
Series C
สตาร์ทอัพในรอบนี้จะต้องเร่งปล่อยสินค้าสู่เวทีสากลได้แล้ว ความสำคัญของรอบนี้อยู่ที่ “ความเร็ว” สตาร์ทอัพต้องโฟกัสไปที่ความหลากหลายของสินค้าในแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน
แล้วสตาร์ทอัพต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในแต่ละรอบ?
แล้วแต่สตาร์ทอัพเจ้านั้นเลย แต่เอาจริงๆก้ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะแต่ละรอบนั้น สตาร์ทอัพยื่นข้อเสนอบางอย่างให้นักลงทุนซึ่งมันก็ได้ผลในรอบแรกๆ เพราะมูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้นก็เพราะมีคนมาลงเงินทุนด้วย แต่ถ้าสตาร์ทอัพเจ้านั้นยอมแลกส่วนแบ่งร้อยละ 25 ให้กับนักลงทุนแต่ละคนแล้วล่ะก็ อีกไม่ก็รอบ คุณก็ไม่มีส่วนแบ่งเหลือให้นักลงทุนที่มาใหม่อีกแล้ว
มาถึงจุดนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพเจ้านั้นคือขาย (เหมือนที่ Instagram ขายให้ Facebook) ไม่ก็เข้าตลาดหุ้น (เหมือนที่ Facebook ทำ)
ถ้ายังไม่เห็นภาพชัดเจน มาดูเส้นทางการได้เงินทุนของ Instagram กัน ในรอบ Seed Round Instagram ได้เงินทุนไป 5 แสนเหรียญ อีก 2 ปีต่อมาก็ได้เงินทุนในรอบ Series A อีก 7 ล้านเหรียญ Series B อีก 50 ล้านเหรียญ ก่อนที่ Instagram ขายให้ Facebook
ซึ่งจริงๆแล้วสตาร์ทอัพจะหวังเงินทุนแสนถึงล้านเหรียญในรอบ Seed Round ก็ได้ และในแต่ละรอบของการหาเงินทุน สตาร์ทอัพจะต้องยอมให้ส่วนแบ่งแก่นักลงทุนซึ่งประกติแล้วก็ร้อยละ 25 ให้กับผู้ให้ทุน บางครั้งสตาร์ทอัพก็ข้ามรอบ Seed Round แลละได้เงินทุนล้านเหรียญในรอบ Series A ไปเลย แต่ Instagram เป็นโมเดลที่ดีที่จะที่หาเงินตามลำดับอย่างที่เรารู้กัน
ฉะนั้นหากสตาร์ทอัพต้องการหาเงินในแต่ละรอบ อย่าลืมดูสถานะของกิจการด้วย หากยังไม่มีต้นแบบ ก็อย่าเพิ่งไปหาทุนรอบ Series A ให้เริ่มจาก Seed Round ไปก่อน ไม่ต้องรีบ ที่สำคัญอย่าลืมว่าสตาร์ทอัพต้องให้ส่วนแบ่งแก่ผู้ให้เงินทุนทุกครั้งที่ได้เงิน ฉะนั้นคิดดีๆก่อนตัดสินใจ
แหล่งที่มา
http://learn.onemonth.com/what-are-the-different-stages-of-startup-fundraising-seed-series-a