นับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “เกษตรกร” เป็นอาชีพที่เปรียบได้กับกระดูกสันหลังของชาติอย่างแท้จริง ทว่า ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ปัญหาที่เกษตรกรไทยต้องเจอ หลักๆ ยังคงเป็นเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ถูกเอาเปรียบโดยพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการขาดความรู้เรื่องเทคโนโลยี
ส่วนหนึ่งของปัญหามาจากการที่เกษตรกรในปัจจุบันมักจะปลูกแต่พืชเชิงเดี่ยว (ทั้งสวนปลูกอย่างเดียว) เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ฯลฯ ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน และราคาผลผลิตตกต่ำ ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญส่งเสริมให้เกษตรกรไทยเป็น Smart Farmer เกษตรกรยุค 4.0 เน้นการเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยใช้สื่อดิจิทัลเข้ามาช่วยในรูปแบบเกษตรครบวงจร เปลี่ยนจากเกษตรกรธรรมดา ให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเกษตร ที่สร้างแบรนด์ได้เอง ตั้งแต่ปลูก แปรรูป ทำการตลาด และส่งออกไปสู่มือผู้บริโภค
จริงๆ แล้วการทำเกษตรครบวงจรไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ดูได้จาก คุณอายุ จือปา ผู้ชนะโครงการ dtac Smart Farmer 2016 เจ้าของแบรนด์กาแฟ “อาข่า อ่ามา” เกษตรกรคนรุ่นใหม่ ที่เกิดและเติบโตมาในชนเผ่าอาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เขาเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานที่อยู่ ที่ทำกิน ความรู้ และอนาคตที่ดี ทำให้เขาค่อยๆ สร้างกาแฟอาข่า อ่ามา
เขาได้นำองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ กลับมาพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง โดยมีกาแฟพันธุ์พระราชทานจากพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลักดันให้กาแฟจากชุมชนบ้านแม่จันใต้ก้าวสู่เวทีโลก ปัจจุบันเขาไม่ได้ทำแค่ปลูกและรอให้พ่อค้าคนกลางรับซื้อเท่านั้น แต่เขาปลูก ผลิต แปรรูป และทำตลาดจนเป็นสินค้าที่ส่งออกสู่ตลาดได้ ทุกวันนี้แบรนด์อาข่า อ่ามา ไม่ได้ขายผ่านหน้าร้านอย่างเดียว แต่ยังขายผ่านออนไลน์ และแอพฯ ต่างๆ ด้วย
“แม้เราจะเป็นเกษตรกรบ้านๆ แต่การมีความรู้ นั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้ ตอนนี้ไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร บอกได้เลยว่าชุมชนอยู่ได้แน่นอน เพราะฐานเศรษฐกิจในชุมชนเป็นการพึ่งพาตัวเองแบบพอเพียง” อายุ กล่าว
คุณพงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ รองชนะเลิศอันดับ ๑ จากจังหวัดมหาสารคาม เจ้าของฟาร์มผักอินทรีย์ไร้สารพิษ “ฟาร์มแก้วพะเนาว์” ถือเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่หันมาทำอาชีพเกษตรกรอย่างจริงจัง มีการจัดระบบโครงสร้างการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผลผลิตที่ได้ก็ถูกส่งไปยังตลาดท้องถิ่นและในจังหวัด บางส่วนส่งไปยังห้างสรรพสินค้าโดยตรง นอกจากนี้ คุณพงษ์พัฒน์ ยังได้แชร์เทคนิคการทำเกษตรผ่าน Social Media ซึ่งมีหลายคนให้ความสนใจและทำตาม ถือเป็นต้นแบบของเกษตรกรยุคดิจิทัล ที่สร้างความภูมิใจและทำให้คนทั่วไปมองอาชีพเกษตรกรว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้
ด้าน คุณศิริวิมล กิตะพาณิชย์ รองชนะเลิศอันดับ ๒ เกษตรกรจากจังหวัดเชียงราย ที่ทำเกษตรครบวงจรตามพระราชดำริของพ่อหลวง รัชกาลที่ ๙ ทั้งปลูกพืช ผัก สมุนไพร ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ ภายใต้ชื่อ “ไร่รื่นรมย์” คุณศิริวิมลเป็นอีกคนใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำเกษตร นำวัตถุดิบที่มีในไร่มาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดสรรพื้นที่ภายในอย่างเป็นระบบ เป็นทำเกษตรครบวงจรที่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายแค่ตนเอง แต่ต้องการให้ชุมชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
httpv://youtu.be/xfkKavWfICw
โครงการ dtac Smart Farmer 2016 เป็นโครงการที่ ‘ดีแทค’ ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อค้นหาและสนับสนุนเกษตรกรต้นแบบให้มีศักยภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตและระบบออนไลน์ทำเกษตรกรรมทั้งกระบวนการผลิต เพื่อให้พวกเขาเป็นตัวแทนในการส่งต่อความรู้ ถ่ายทอดบทเรียน และเป็นที่ปรึกษาให้กับชุมชนในพื้นที่ต่อไป ถือเป็นอีกหนึ่งแรงในการสร้างช่องทางให้เกษตรกรรอดพ้นจากวงจรสินค้าเกษตรตกต่ำ และปัญหาเรื้อรังที่เป็นมานาน
อนึ่ง ดีแทค มีแผนสนับสนุนธุรกิจสตาร์อัพด้านการเกษตร หรือ Agri Tech เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาสำคัญทางการเกษตรหรือสร้างธุรกิจใหม่โดยใช้เทคโนโลยี IoT และยังมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่าง Agri Tech กับ Smart Farmer ที่เหมาะสม ในการนำความรู้ทางการเกษตรที่มีอยู่ผสานกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้วิทยาการด้านการเกษตรของไทยกลายเป็นผู้นำแนวหน้าของโลก ซึ่งสอดคล้องกับโมเดล “ประเทศไทย 4.0” ของรัฐบาล เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ Value- Based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในที่สุด
รายละเอียด โครงการ dtac Smart Farmer 2016 เพิ่มเติม คลิกที่นี่