หนึ่งในแนวคิดของสตาร์ทอัพที่แตกต่างจากการทำธุรกิจทั่วไปคือ “ความเร็ว” ไม่ใช่ความเร็วในการทำสินค้าหรือแอปพลิเคชั่นออกสู่สายตาลูกค้าให้เร็วที่สุด แต่เป็นการเรียนรู้ลูกค้าให้เร็วที่สุดไม่ว่าจะเป็นปัญหา ความต้องการ พฤติกรรม ความรู้สึกและทัศนคติ
ดังนั้นการมีทีมที่ตอบสนองความเร็วดังกล่าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น มาดูกฎเหล็ก 10 ข้อก่อนคิดฟอร์มทีมทำสตาร์ทอัพพัฒนาแอปฯเว็บไซต์ และเพลตฟอร์มอื่นๆกัน
1. มีวิสัยทัศน์ ตัดสินใจเฉียบขาด และเข้าใจลูกค้า
จะทำแอปพลิเคชันที่ลูกค้าชอบและใช้งานง่าย ต้องรู้จักเทคโนโลยีรอบตัว พัฒนาซอฟท์แวร์ตอบโจทย์ความเป็นไปได้ในอนาคต ตัดสินใจเฉียบขาดในเรื่องที่ตอบโจทย์ลูกค้าและธุรกิจ โดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งและข้อมูลที่ไม่เพียงพอเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งเพื่อประสบการณ์ในการใช้งาน
ที่สำคัญต้องรู้สึกร่วมรับผิดชอบในตัวแอปฯ เป็นเจ้าของแอปฯด้วยกัน จึงจะทำให้ทำงานร่วมกันได้ดี
2. คิดจะทำสตาร์ทอัพ อย่าทำงานคนเดียว
ทีมช่วยคุณได้ไอเดียใหม่ๆ ตัดสินใจ คิดคอนเซ็ปท์ และสรุปสิ่งที่พูดคุยกัน ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ต้องอัพเดทความคืบหน้าและเป้าหมายที่จะทำให้สำเร็จด้วย ตัดสินใจว่าจะทำอะไรก่อนหลัง จะออกแบบฟีเจอร์ใหม่ๆอะไรบ้าง ให้ทีมช่วยพัฒนามันขึ้นมา และที่สำคัญสามารถแชร์ไอเดียได้อย่างเสรีในพื้นที่เปิดกว้าง
3. ตกลงวิธีการทำงานในทีมไว้ตั้งแต่แรก
ตกลงกับคนในทีมว่าคุณจะมีวิธีทำงานกันอย่างไร ทุกคนในทีมจะได้ทำกันจนเป็นเรื่องปรกติ หากคุณรู้ว่าคุณจะทำสิ่งๆหนึ่งได้อย่างไร จะช่วยเร่งให้องค์กรของคุณโตขึ้น การมีวิธีที่ปฏิบัติกันแบบนี้จะทำให้คุณสอนพนักงานใหม่ได้รวดเร็วขึ้น คุณจะได้เอาเวลาที่เหลือไปโฟกัสไปที่ปัญหาของลูกค้า และหาทางตอบโจทย์มากขึ้น
4. บันดาลใจคนในทีมด้วยเป้าหมาย โฟกัสไปที่ผลลัพธ์
มุ่งไปที่เป้าหมายอย่างเดียวไม่พอ ต้องหัดสังเกตผลที่ตามมาว่าคุณบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ต้องลองอีกครั้งไปเรื่อยๆเพื่อเข้าใจลูกค้า หาตัวชี้วัด และแก้ปัญหา
5. ลูกค้าเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด
เพราะถ้าเป็นเรื่องที่คนในทีมต้องถกเถียงกัน มีความเห็นต่างกัน ก็สมควรที่จะทำต้นแบบเพื่อทดสอบคอนเซ็ปท์กับลูกค้าและผู้ใช้งานให้รู้เรื่องกันไปเลย
6. แก้ปัญหาให้ถูกจุด
อย่าเริ่มจากการสร้างแอปฯ ให้เริ่มลองลิสต์รายการฟีเจอร์ที่คุณอยากให้แอปฯของคุณมี คุณจะมีแอปฯโดนใจลูกค้าต่อเมื่อคุณสร้างแอปฯที่คิดถึงปัญหา พฤติกรรม มีความคิดและความรู้สึกของลูกค้า
7. พัฒนาและพิสูจน์สมมติฐานอยู่เสมอ
ทุกการตัดสินใจของคุณไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและการผลิตแอปฯ ล้วนมาจากสมมติฐานเสมอ คุณทำได้เพียงแค่คาดเดาให้ดีที่สุดเพื่อทดแทนสิ่งที่คุณไม่รู้ ทางเดียวที่คุณจะรู้ว่าที่คุณเดามันถูกก็คือเอาต้นแบบไปทดสอบให้ลูกค้าให้ความเห็นกลับมา ถ้าเดาผิด คุณก็แค่กลับไปดูไอเดียที่เหลือที่คุณเก็บไว้ เอามาทดสอบไปเรื่อยๆ แต่คุณไม่มีทางทดสอบสมมติฐานที่คุณมีได้หมดหรอก ฉะนั้นเลือกเอาที่สำคัญกับเป้าหมายของกิจการก็พอ
8. คิด – ลงมือทำ – ตรวจสอบ
สัมภาษณ์คนที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าของคุณ ทำต้นแบบบง่ายๆให้ลูกค้าใช้ ถามความเห็น เรียนรู้ลูกค้าให้เร็วที่สุดเพื่อทดสอบคอนเซ็ปท์ที่สุ่มเสี่ยงที่สุด ถ้าไม่เวิร์คก็เรียนรู้ เดินหน้าพัฒนาต้นแบบต่อไป
9. เตรียมทางเลือกไว้หลายๆทาง
ต่อให้สถานการณ์รอบตัวมันไม่แน่นอนมากแค่ไหน คุณก็ต้องหาทางแก้ปัญหาให้ได้ ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาคือทำงานเป็นทีม ระดมสมอง คิดไอเดียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้ความเข้าใจเลือกวิธีแก้ไขปัญหานั้นสัก 1-2 ทาง
10. ตัดสินใจให้เฉียบขาด แต่ต้องยืดหยุ่นด้วย
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเลือกวิธีแก้ไขปัญหาจากหลายๆวิธี ตัดสินใจลงมือทำเลย แต่ต้องพร้อมตัดใจเปลี่ยนไปให้วิธีอื่นเสมอหากวิธีที่เลือกมันไม่ได้ผล เพราะนี่คือวิธีการเรียนรู้ความต้องการของผู้ใช้งาน ไม่ใช่ฟีเจอร์ของตัวแอปฯ
แหล่งที่มา
http://www.designprinciplesftw.com/collections/the-10-principles-of-successful-lean-product-teams