กระแส Disruption ที่เป็นผลพวงจากการมาถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ จนถึงการมาถึงการใช้งานของดิจิทัลต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจในรูปแบบเดิม ๆ นั้นล้มระเนระนาดเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยเองก็เห็นทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสิ่งพิมพ์ที่เห็นได้ชัดอย่างที่ประกาศปิดตัวลงไปในทีละสื่อ ทั้งนี้ก็มีหลากหลายแบรนด์ที่รู้ตัวว่าต้องสร้างอะไรบางอย่างออกมาเพื่อที่จะอยู่รอดในกระแส Disruption ได้ แต่ทำไมกลับกลายเป็นว่าบางองค์กรทำแล้วไม่รอดหรือทำแล้วไม่เกิด
การที่องค์กรที่อยู่มานานในยุค Analog เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้หลาย ๆ องค์กรปรับตัวไม่ทัน หลายองค์กรก็ไม่คิดว่าต้องปรับตัวทำให้ทำงานในแบบเดิมจนเมื่อเกิดคู่แข่งรายใหม่ ๆ ที่แก้ปัญหาได้เก่งกว่า เข้าใจผู้บริโภคมากกว่า เคลื่อนที่เร็วกว่า และสามารถทำราคาได้ดีกว่า ทำให้บริษัทเก่า ๆ องค์กรเก่า ๆ เหล่านี้ ปรับตัวตามไม่ทัน และเมื่อจะปรับตัวสิ่งที่คิดได้คือการทำ สินค้าและบริการมาแข่งขันกับผู้เล่นหน้าใหม่ ๆ โดยหวังว่าด้วยพลังขอองค์กรที่ใหญ่นั้นจะสามารถเอาชนะ เพราะมีทั้งกำลังเงิน พนักงาน เครื่องมือต่าง ๆ กัน แต่กลับกลายเป็นว่าจุดแข็งของตัวเองนั้นไม่สามารถเอาชนะคู่แข่งรายใหม่ ๆ ได้เลย นั้นเป็นเพราะอะไรกันแล้วจะแก้ไขได้อย่างไรดี
- ก่อนอื่นนั้นสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้นวัตกรรมในองค์กรที่อยู่มานานนั้นไม่เกิดเลยคือ การที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่เอื้อให้เกิดการคิดนวัตกรรมต่าง ๆ ยิ่งระบบที่มีกระบวนการเยอะ ๆ หรือต้องผ่านชั้นตอนหลากหลายที่จะอนุมัติให้เกิดงานได้นั้น ทำให้นวัตกรรมต่างๆ ไม่เกิดและไม่มีใครที่จะอยากรอเวลาที่เสียไปเพื่อที่จะให้เกิดการอนุมัติต่าง ๆ นี้ยังไม่รวมถึงการที่ต้องทำแผนการตลาดหรือแผนธุรกิจมากมายมาพิสูจน์หรือนำเสนอเพื่อให้เกิดการโน้มน้าวที่จะลงมือทำนวัตกรรมนั้น ๆ ในต่างประเทศเองนั้นใช้วิธีการที่ลองให้ทีมนั้นมีเวลาว่างนำเสนอโดยการทำตัว Prototype มาเลย และลองให้ออกไปใช้งานจริง ๆ ได้ เพื่อให้เกิดการย่นระยะเวลาทำงานเพื่อให้เกิดการทดลองนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้
- ปัญหาต่อมาคือการที่องค์กรนั้นมีขนาดใหญ่และมี Resourse ที่เกี่ยวข้องหลากหลาย ทำให้เมื่อเริ่มต้นโครงการอะไรสักอย่างหนึ่งนั้น สิ่งที่ตามมาทันทีคือค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่าง ๆ เช่นระบบบัญชีขององค์กร หรือระบบ HR และ Back office ต่าง ๆ ทำให้ ผลิตภัณฑ์และบริการแทนที่จะสามารถเกิดขึ้นมาแบบมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและสามารถเอาออกไปสู่ตลาดเพื่อหารายได้เข้ามา กลับกลายเป็นว่า Bottom Line ที่เยอะมากจากค่าใช่จ่ายที่มีอยู่ตั้งแต่สินค้าเกิด ทำให้ต้องหารายได้มหาศาลเพื่อที่จะมาอุดช่องว่างตรงนี้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ช่วงแรกจะมีกำไร เผลอ ๆ นั้นอาจจะขาดทุนอีกตั้งหาก ซึ่งหากองค์กรไหนและบริษัทไหนที่ต้องการแก้ไขปัญหานี้ ทางที่ดีที่สุดคือการคิดแบบ Lean Startup โดยการยกทีมที่ทำงานนั้นให้หลุดออกจากระบบขององค์กรส่วนกลาง และมีแค่ค่าใช้จ่ายของทีม ที่ทีมต้องหาเงินมา cover เอง
- ปัญหาที่ไม่เข้าใจผู้บริโภค หลายองค์กรและบริษัทมักจะมาตายกันตรงนี้ เพราะทำผลิตภัณฑ์และบริการตาม ๆ กระแสกันมา โดยไม่ได้เข้าใจว่าผู้บริโภคต้องการอะไร หรือทำไมคู่แข่งนั้นถึงสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการให้ติดตลาดของตัวเองได้ แต่กลับกลายเป็นว่าผลิตภัณฑ์และบริการนั้นสร้างมาจากการที่เห็นโอกาสทางการตลาด และพัฒนาออกมาโดยใช้ความเห็นส่วนตัว ตัวเองโดยไม่ได้มีการเทสการใช้งานกับผู้บริโภคจริง ๆ ว่าชอบไหม หรือการขาดการใส่ใจว่าผลิตภัณฑ์ตัวเองจะตอบโจทย์อะไรในตลาด ทั้งนี้องค์กรหรือแบรนด์ไหนที่เป็น สิ่งที่ควรทำคือการทำการวิจัยผู้บริโภคจริง ทำตัวอย่างและทดลองกับผู้บริโภคว่าต้องการไหม ก่อนที่จะเริ่มทำจริง ซึ่งจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ตลาดยิ่งขึ้น
- ปัญหาต่อมาคือการที่ไม่มีคน Focus ในผลิตภัณฑ์นั้น เพราะหลาย ๆ องค์กรหรือแบรนด์จะมีพนักงานที่ต้องทำอะไรหลากหลายสิ่ง โดยเฉพาะงานเอกสารและงานประชุม เพราะฉะนั้นการที่จะมีเวลามานั่งคิดอะไรหรือทำงานอะไรคงเป็นเรื่องที่มีลำดับความสำคัญท้ายสุดที่จะต้องทำออกมา หรือเมื่อคิดได้แล้วแทนที่จะต้องทำงานนวัตกรรมนั้นงานเดียวกลับกลายเป็นว่าต้องทำงานหลาย ๆ งานพร้อม ๆ กันทำให้ทีมไม่ได้โฟกัสในการทำงานอะสักอย่าง จนไม่สามารถสร้างอะไรแต่ละอย่างให้ดีไปได้ ทั้งนี้องค์กรและแบรนด์นั้นควรให้พนักงานนั้นมีโฟกัสในการทำงานของตัวเองไปเลย เช่น Google ก็จะมีแต่ละทีมที่ดูแลนวัตกรรมของตัวเองไปเลย ทีมมีเวลาว่างให้พนักงานไปคิดนวัตกรรมเพิ่มได้ด้วย
- ปัญหาที่คิดว่าตัวเองเก่งที่สุด หลาย ๆ องค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งมาก และชอบถูกบ่มเพาะมาว่าตัวเองนี้เก่งที่สุด หรือดีที่สุดแล้ว ซึ่งเป้นการมองเข้าข้างตัวเองอย่างมาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองเป็น จะทำให้ปิดรับความรู้หรือความเห็นจากที่ต่าง ๆ ออกไป รวมถึงขาดการเจอสิ่งที่ถูกต้องจริง ๆ ซึ่งนี้ทำให้นวัตกรรมที่องค์กรจะผลิตออกมาจะไปได้ไม่ถึงไหน องค์กรนั้นสามารถแก้ไขได้ โดยการเชื่อผู้เชี่ยวชาญหรือส่งทีมออกไปเปิดโลกกับนวัตกรรมที่ต่างประเทศเพื่อเรียนรู้กลับมา
ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าองค์กรใหญ่จะไม่สามารถปรับตัวได้ แต่การปรับตัวนี้ต้องใช้วิธีคิดหลาย ๆ อย่างที่เปลียนไปและการกล้าที่จะเสี่ยงลงมือ การใช้คนรุ่นใหม่ คนเก่งที่เป็นในด้านนี้ เพื่อทำให้อยู่รอดในยุคที่การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นนี้ได้