ไคลี่ อึ้ง (Khailee Ng) ผู้ร่วมก่อตั้ง 500 Startups ปรากฎตัวพูดปราศรัยในงาน TIA Jakarta 2016 “ช่วงนี้มีข่าวร้ายบางอย่างนะ”ไคลี่พูด “เราได้ยินฮีโร่จากบ้านเกิดที่ทำเงินเยอะ เติบโตขึ้นมาก และจบด้วยขายกิจการไป เราได้ยินว่าบริษัทที่เราชอบบางเจ้ากำลังจะตายหายไปเรื่อยๆ ข่าวพวกนี้ชวนให้ห่อเหี่ยวใจเหลือเกิน”
ความรู้สึกหดหู่ของนักลงทุนเช่นนี้กระทบ 500 Startups อย่างเลี่ยงไม่ได้ กองทุนของไคลี่อย่าง 500 Durians ได้ลงทุนสตาร์ทอัพไปกว่า 120 เจ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า สตาร์ทอัพ 100 กว่าเจ้าเตรียมตัวดับได้เลย
ประมาณการว่าเงินลงทุนกว่าร้อยละ 22 จะต้องหมดไปกับสตาร์ทอัพที่ต้องปิดกิจการลงกว่า 160 เจ้า ถึงแม้ว่าจะได้เงินทุนเพิ่มจากสตาร์ทอัพในช่วงบ่มเพราะกิจการแล้วก็ตาม
Managing Partner อย่างไคลี่ที่มีฐานการลงทุนระดับ Venture Capital (VC) อยู่ที่ซิลิคอน วัลเล่ย์ อธิบายว่ามีหลายๆการพัฒนาที่ต้องกังวลซึ่งตอนนี้ VC และผู้ก่อตั้งกิจการก็ได้รับรู้ปัญหานี้ดี เพียงแต่ยังไม่ได้เป็นข่าวเท่านั้น
“ใช่ ผู้ก่อตั้งกิจการหลายคนต้องเผชิญอุปสรรคหนักหน่วง” ไคลี่เน้น “ผมมาดูพอร์ตการลงทุนของผม และผมก็กำลังพยายามทำให้มันดีขึ้น แต่มันกลับยิ่งแย่ลงน่ะสิ”
สตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวร้อยละ 3 ที่มี VC สนับสนุนก็เตรียมปิดตัวไปด้วย
“ผมนั่งมองผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลายๆเจ้าและค่อยๆบอกเขาว่าสตาร์ทอัพของคุณอาจจบลงเดือนหน้าก็ได้นะ” ไคลี่กล่าว “ผมไม่รู้นะนะว่าเจ้าไหนจะตาย แต่ผมรู้ว่าเจ้าไหนละกัน”
“แต่ก็เป็นเรื่องปรกติ” ไคลี่บอกต่อ
“เหตุการณ์แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าตอนนี้มันแย่”Venture Capitalist คนหนึ่งพูดไว้ “สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่เกิดขึ้นก็มี บริษัทใหญ่ๆก็ได้ทุน บางเจ้าก็ทำได้ดี บางเจ้าก็ปิดตัวลง มันก็เป็นเกมอย่างหนึ่ง ถ้าคุณโต้ตอบเสียๆหายๆกับเรื่องพวกนี้ คุณก็มีปัญหาแล้วล่ะ คุณจมอยู่แต่ปัญหา แต่ไม่ให้ตัวเองสัมผัสกับโอกาสบ้างเลย”
แล้วผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องเสี่ยงไปอีกแค่ไหนกัน?
ซึ่งไคลี่ก็ได้ร่างคร่าวๆถึงวิธีที่ผู้ก่อตั้งปลิดชีวิตสตาร์ทอัพของตัวเองลงไว้ตามนี้
1. ผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพต่างกันเกินไป: ถ้าคุณไม่ได้มองตาต่อตากับผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพอีกคน ถ้ามีความบาดหมางใจต่อกัน ก็บอกลากันได้เลย ถ้าคุณล้มตัวนอนบนเตียงด้วยความโมโห คุณงานเข้าแน่ๆ
2. ยึดติดไอเดียแย่ๆเข้าไว้สิ: ไม่ต้องให้อัจฉริยะมาตรัสรู้ว่าถ้าต้นทุนการได้ลูกค้ามาแต่ละคนมันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ คุณค่าของลูกค้าในช่วงชีวิตของสตาร์ทอัพก็ลดเรียบลงมา ถ้าขืนทำอย่างที่ทำอยู่ละก็ จบเห่
3. พยายามทำหลายๆอย่างพร้อมกัน: ผู้ก่อตั้งอาจขอร้องให้นักลงทุนเรียกร้องผลตอบแทนให้น้อยกว่าที่พวกนักลงทุนควรจะได้ เพื่อเพิ่มทุน แต่เงินสดในมือก็มีจำกัดไม่พอกับความฝันหรอก นั่นหมายความว่าทรัพยากรในสตาร์ทอัพก็ลีบลงทุกทีด้วย
4. หลอกตัวเองว่าไม่มีอะไรผิดพลาดหรอก:ไคลี่ยกตัวอย่างกิจการที่มีนักลงทุนคอยบอกว่าจะเติมเงินสดให้อยู่เรื่อยๆ ถ้ากิจการทำได้ตามเป้า ต่อให้สตาร์ทอัพทำได้ แน่ใจได้อย่างไรว่านักลงทุนพวกนี้จะไม่ผิดคำพูด “สตาร์ทอัพพวกนี้อยู่ได้เดือนนึงก็หรูแล้ว โชคดีที่ยังรอดตามด้วยซ้ำ”
5. ไม่ขอความช่วยเหลือ: เพราะนักลงทุนก็เข้าใจผิดว่าถ้าสตาร์ทอัพที่ตัวเองลงทุนไปไม่ได้ขอความช่วยเหลือหรือขอความเห็น ก็หมายความว่าสตาร์ทอัพพวกนี้นไม่มีปัญหา (เข้าข่าย No problem is the problem. น่ะแหละ) ซึ่งความเข้าจแบบนี้ก็ไม่ได้ถูกเสมอไปหรอก ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพควรติดตามและติดต่อกับนักลงทุนอย่างสม่ำเสมอและมีแผนสำรองหากหลายๆอย่างไม่ได้เป็นไปตามแผนเดิม
ก่อนจบ ไคลี่ได้ทิ้งท้ายว่า เขายังเชื่อในตัวสตาร์ทอัพจะได้รับข่าวร้ายในอีกไม่กี่อาทิตย์ แต่เขาก็ไม่ได้รู้สึกผิดปรกติอะไร เพราะทุกอย่างก็มีเหตุผลของมันอยู่แล้ว ไคลี่อยากให้ทุกคนหายเข้าออกลึกๆและโฟกัส “ข่าวร้ายจะต้องไม่เปลี่ยนคุณ แต่คุณจะต้องเปลี่ยนข่าวร้าย” ไคลี่พูด “วิธีแก้วิกฤตนี้ก็คือเอาตัวเองออกจากปัญหา เดินหน้าลุยต่อไปซะ ”
แหล่งที่มา
https://www.techinasia.com/khailee-ng-dead-startups