“อาจแรงอย่างต่อเนื่องและไม่รู้ว่าจะอ่อนแรงเมื่อไหร่ จะปีหรือสองปี” เป็นคำตอบที่ได้รับจากผู้บริหารค่ายรถยนต์ใหญ่ในบ้านเรา กับวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์อเมริกาแล้วเริ่มลุกลามไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทย แม้จะเชื่อว่าเป็นดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย แต่ก็ได้รับผลกระทบต่อเนื่องไปด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ออกมาคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของรถยนต์ในปีหน้าจะชะลอตัว 10-20%
ทำให้ค่ายรถยนต์สัญชาติอเมริกัน หรือค่ายรถยนต์จากแดนอาทิตย์อุทัย ที่ลงหลักปักฐานนประเทศไทยด้วยมูลค่าการลงทุนมหาศาล ตอนนี้ต้องเร่งปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ทำให้ผู้บริหารหลายๆ ค่ายบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “เหนื่อยแน่” และยอดขายรถยนต์รวมอาจจะตกลงมาอยู่ที่ 630,000 คัน จากที่ตั้งเป้าไว้ตอนต้นปี 650,000 คัน
Toyota
- ลดการสั่งซื่อวัตถุดิบเฉลี่ย 20-25% ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 – เมษายน 2552
- ลดเวลาการทำงานของพนักงานในโรงงาน
Ford
- ลดพนักงานในส่วนสำนักงานออกเมื่อกลางปี ควบคุมสต๊อกที่เหลืออยู่ให้หมดก่อนสิ้นปี
- ลดงบโฆษณาและประชาสัมพันธ์
- เพิ่มกามรจัดอีเวนต์ต่างจังหวัด เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้จากธุรกิจเกษตรกรรม
- ยอดขายรวม 800 คันต่อเดือน
Isuzu
- หาตลาดส่งออกใหม่ ทั้งออสเตรีย และยุโรปตะวันออก เพื่อกระจายความเสี่ยง
- ตั้งเป้ายอดขายปี 2551 อยู่ที่ 150,000 คัน
- ลดฐานการผลิต พฤศจิกายน 2551 คาดจะผลิตที่ 11,295 ปรับลดครั้งที่ 2 11,130 คัน และครั้งที่ 3 เหลือแค่ 10,995 คัน ลดจากครั้งแรก 2.56%
Honda
- ตั้งเป้ายอดขายปี 2551 อยู่ที่ 85,000 คัน
- ยอดขายตั้งแต่ มกราคม-ตุลาคม 72,145 คัน
- ได้รับผลกระทบจากตลาดออสเตรีย
General Motors
- ลดฐานการผลิตโดยมีนัยสำคัญ คือ ครั้งแรก พฤศจิกายน 2551 คาดจะผลิตที่ 8,065 คัน ปรับลดครั้งที่ 2 เหลือ 7,218 คัน และครั้งที่ 3 เหลือแค่ 6,350 คัน ลดจากครั้งแรกถึง 25.80%