ยุติสงครามคนกับขยะ! ด้วยโครงการแยก แลก ยิ้ม จาก ปตท. เพิ่มมูลค่าขยะ ส่งต่อรอยยิ้มสู่สังคมและชุมชน

  • 17
  •  
  •  
  •  
  •  

“ขยะ” ใครฟังใครก็ร้องอี๊! ไม่อยากจับ ไม่อยากดม ไม่อยากมอง

ทำให้เกิดคำถามในใจว่า ถ้าขยะใครๆ ต่างก็รังเกียจ แล้วใครจะเป็นคนกำจัดขยะที่พวกเราเองนั่นแหละสร้างขึ้นมา? แล้วเขาจะรังเกียจเหมือนกับเราไหม? ลองมาค้นหาคำตอบผ่านคลิปนี้กันค่ะ

ผู้พันธุ์ชัยกร้าว

 

ปรากฏว่าคลิปดังกล่าวได้รับความนิยมและถูกส่งต่อกันออกไปเป็นจำนวนมาก และมีหลายสื่อนำไปโพสต์ลงในเว็บด้วย เช่น Facebook Thairath และ Facebook Sanook ทำให้ตอนนี้มียอดวิวพุ่งไปถึง 6 ล้านวิวแล้ว

ความน่าสนใจของคลิปดังกล่าว อยู่ที่เทคนิคการนำเสนอที่ดูผิวเผินเหมือนจะเป็นเรื่องตลก ขำขัน มีกิมมิคเป็นเสียงจากทีมพากย์พันธมิตรให้อารมณ์ (เหมือนจะ) ขึงขังแต่มีลูกเล่นที่ทำให้เราแอบอมยิ้ม

ทว่า แต่จริงๆ แล้วแฝงไปด้วยอารมณ์ของการเสียดสีสังคมไทยที่ไม่ให้ความสำคัญกับการคัดแยกขยะ ซึ่งสร้างปัญหาให้กับทั้งพนักงานเก็บขยะและสภาพแวดล้อมโดยรวม แต่เราผู้สร้างขยะกลับมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และใส่ใจต่อปัญหาการไม่คัดแยกขยะ ปตท. องค์กรด้านพลังงานที่เล็งเห็นปัญหาตรงนี้ จึงได้จัดทำคลิปวิดีโอดังกล่าวชิ้นนี้ขึ้นมานั่นเอง

PTT-1

สำหรับคลิปวิดีโอดังกล่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการแยก แลก ยิ้ม” ที่ ปตท. จัดทำขึ้น เพราะเล็งเห็นว่าปัญหาขยะในเมืองไทย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และนับวันจะรุนแรงยิ่งขึ้น จึงมุ่งมั่นรณรงค์ให้คนไทยแยกขยะลงถังให้ถูกประเภท

หลังจากเปิดตัวคลิปวิดีโอไปแล้ว ปตท. เดินหน้าสื่อสารโครงการ แยก แลก ยิ้มต่อเนื่อง ด้วยการจับมือกับนักวาดการ์ตูนชื่อดังบนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น “ฟอร์มหมาแก่” “Jod8Rew” และ “เรียนเจ้านายที่เคารพ” ร่วมกันสร้างสรรค์ Content Series รณรงค์การแยกขยะในรูปแบบการ์ตูน เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

PTT-2

ทั้งการนำเสนอผ่านคลิป Unbranded ในแนวอารมณ์ขัน พร้อมกับการตอกย้ำคอนเท้นต์อีกครั้งผ่านการ์ตูนของ Online Influencer ต่างๆ นี้สะท้อนให้เห็นการวางกลยุทธ์ที่ต้องการเข้าถึงกลุ่มคนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้น Mood&Tone สนุก ตลก เสพง่าย ซึ่งเป็นเทคนิคการทำคลิปวิดีโอที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบ ก็จะทำให้คอนเท้นต์ได้รับความนิยมและเป็นที่ถูกใจได้ง่าย แต่ที่สำคัญคือ ในความสนุกยังแฝงเรื่องของแง่คิด และปลุกจิตสำนึกที่ดีในสังคมด้วย น่าชื่นชมในจุดนี้มากค่ะ

ขณะเดียวกัน เพื่อปลุกกระแสแยกขยะก่อนทิ้งให้ขยายวงกว้าง ปตท. ยังเลือกใช้สื่อโทรทัศน์ เปิดตัวโฆษณาที่นำเสนอเนื้อหาเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมสร้างชุมชนแห่งรอยยิ้มทั่วประเทศ ที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. กว่า 1,400 แห่งประเทศ ที่ได้จัดเตรียมถังขยะ 3 ใบ ซึ่งออกแบบให้มี 3 สี เพื่อให้ง่ายต่อการแยกประเภทขยะ ได้แก่

ถังสีน้ำเงิน สำหรับขวดแก้วและกระป๋อง

ถังสีเขียว สำหรับขวดพลาสติก PET

ถังสีส้ม สำหรับขยะทั่วไป เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ ถุงพลาสติก กล่องนม แก้วน้ำ

นอกจากนี้เนื้อหาใน TVC ยังได้สื่อถึงขยะที่แยก จะมีพนักงานที่สถานีบริการน้ำมัน ปตท. คอยคัดแยก และนำขยะจำพวกขวดแก้ว กระป๋อง และขวดพลาสติกไปขาย ซึ่งเงินที่ได้จากการขายขยะ เมื่อสะสมได้มากพอ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. จะนำเงินส่วนนั้นไปแลกเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์ สร้างรอยยิ้มให้ชุมชน อาทิ อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การแพทย์ บริจาคเงินเพื่อการกุศล

“แยก แลก ยิ้ม”

 

และเพื่อให้แคมเปญเกิดการ engage กับผู้บริโภค ปตท. ได้ทำเกมออนไลน์ผ่าน “เกมแยก แลก ยิ้ม” ที่ต้องการให้ผู้ใช้ออนไลน์เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการเพื่อสังคมของ ปตท. โดยเป็นเกมแยกขยะที่ตกลงมาให้ถูกถัง ซึ่งวิธีการเล่น ผู้เล่นต้องเลือกทีมก่อน แบ่งเป็น 4 ทีม ประกอบด้วย #‎แยกแลกยิ้มทีมออมไมค์ #‎แยกแลกยิ้มทีมกัปตันทอย #‎แยกแลกยิ้มทีมหมอมิว #‎แยกแลกยิ้มทีมเจเจแบงค์ จากนั้นเมื่อเล่นเกม ทุกคะแนนของผู้เล่นจะถูกนับรวมกัน โดยทีมไหนได้คะแนนสูงที่สุด ทางปตท.จะช่วยออกเงินสมทบทุนการทำกิจกรรม CSR ช่วยเหลือชุมชนให้มากที่สุด โดยแต่ละทีมจะทำกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะป็นการศึกษา การแพทย์ กีฬา หรือช่วยเหลือชุมชนโดยรวม กิจกรรมเกมส์ ดังกล่าวนี้ ปตท. ตั้งใจที่จะสร้างต้นแบบให้ผู้บริโภคเข้าใจลักษณะการทำกิจกรรมของโครงการ ที่เริ่มต้นจากการแยกขยะ แล้วนำไปแลกเป็นเงิน เพื่อที่ทางสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จะรวบรวมเงินเหล่านี้เพื่อสร้างประโยชน์มากมายแก่ชุมชน

ต้องยอมรับว่า ปตท. สามารถสื่อสารโครงการ แยก แลก ยิ้ม ได้เข้าถึงคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเริ่มต้นด้วยการกระตุ้นจิตสำนึก กับ unbranded VDO การใช้สื่อออนไลน์ผ่านช่องทางของนักวาดการ์ตูนชื่อดังหรือเพจชื่อดังต่างๆ หรือการสร้างความน่าสนใจในการทำกิจกรรมผ่านทางการใช้ดารา เพื่อให้เข้าถึงและใกล้ชิดผู้บริโภคมากที่สุดนั้น เป็นการทำให้ผู้บริโภคเกิด engagement เพื่อนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการดูแลสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการนำช่องทางในการทำธุรกิจมาทำประโยชน์แก่ส่วนรวมได้เป็นอย่างดี


  • 17
  •  
  •  
  •  
  •