Ad Blocking ปัญหาที่นักการตลาดและคนทำงานเอเจนซี่นั้นกลัวกัน และหลาย ๆ คนพยายามใช้วิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการสร้างโฆษณาเอาไปบังคับใส่ให้ผู้บริโภคดูแล เช่นการซื้อ Non-Skippable Ads หรือการบังคับให้ผู้บริโภคต้องดูโฆษณานั้น ๆ เพื่อแลกกับการดู Content ที่ดี ซึ่งทำใหเผู้บริโภคนั้นต่างรุ้สึกไม่ดีกับการทำเช่นนี้ และใช้ Ad Blocking มากขึ้น แต่ในปัญหานี้ยังมีความดีของ Ad Blocking ต่อคนทำโฆษณาหรือทำการตลาดออนไลน์อีกอย่างหนึ่งเหมือนกัน
httpv://www.youtube.com/watch?v=pnbBwlv0ASE
ก่อนอื่นนั้นต้องเข้าใจว่าการทำการสื่อสารการตลาด การทำโฆษณานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคนั้นได้รับรู้ว่าแบรนด์หรือธุรกิจนั้นต้องการจะสื่อสารอะไร และต้องการให้ผู้บริโภตเข้าใจอย่างไร ทำให้การทำโฆษณานั้นจะสร้างความน่าสนใจและสร้างการจดจำให้ผู้บริโภคได้เกิดการนึกถึงเวลาที่มีปัญหาหรือต้องการบริโภคอุปโภคขึ้นมา ก็จะนึกถึงแบรนด์ที่ต้องการแล้วทำการออกไปซื้อหาเพื่อใช้บริการได้ ทั้งนี้การทำโฆษณาในอดีตนั้นต่างเป็นโฆษราที่ผู้บริโภคนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะด้วยความที่เป็นสื่อ TV เป็นหลัก ทำให้ผู้บริโภคนั้นไม่สามารถหลีกหนีไปไหนได้ เปลี่ยนช่องก็ยังเจอโฆษณาได้ นักการตลาดจะกระหน่ำการลงโฆษณาในทีวีเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นในความถี่ที่เหมาะสมที่ผู้บริโภคจะสามารถไปซื้อสินค้าหรือจำโฆษณานั้นได้ต่อมา ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทำให้การสร้างสรรค์โฆษณาที่มีคุณค่า มีความเข้าใจผู้บริโภค และสร้างความรู้สึกดีต่อผู้บริโภคนั้นลดลง กลายมาเป้นการทำโฆษณาที่จะทำอะไรก็ได้ ที่ยัดเยียดเนื้อหาต่าง ๆ ให้ผู้บริโภคดู เพราะผู้บริโภคนั้นไม่สามารถหนีไปไหนได้
เมื่อมีอินเทอร์เนตเข้ามา ผู้บริโภคสามารถหลีกหนีจาก TV มายังช่องทางใหม่ในการที่จะบริโภคเนื้อหาต่าง ๆ ได้ ยิ่งเมื่อมี Social Network ต่าง ๆ ทำให้ผู้บริโภคนั้นมีทางเลือกมากขึ้น นอกจากนี้การมาถึงของอินเทอร์เนตทำให้ผู้บริโภคนั้นมีพลังที่จะแสดงออกในความคิดต่าง ๆ และมีทางเลือกที่จะดูหรือไม่ดูแบรนด์อะไรก็ได้ แต่ด้วยการที่นักการตลาดหลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจในอินเทอร์เนต หรือ ดิจิทัล ทำให้นักการตลาดหรือคนโฆษณาเหล่านี้คิดว่าการทำโฆษณาแบบเดิมนั้นก็ยังทำได้ การทำ OOH หรือ Print ก็ประยุกต์เข้ามาในนี้ได้เหมือนสื่ออื่น ๆ เหมือนเดิม แต่กลายเป็นว่ายิ่งทำเช่นนี้ยิ่งทำให้ผู้บริโภคที่อยู่ในโลกออนไลน์นั้นไม่ชอบไปอีก และกลายเป็นว่าสิ่งแวดล้อมของออนไลน์นั้น อุดมไปด้วยโฆษณาที่ไม่ได้ให้ประโยชน์กับผู้บริโภคเลย และแถมสร้างความรำคาญให้ผู้บริโภคอีก
ทีนี้ลองนึกภาพว่าคุณกำลังอยากจะหาคำตอบอะไรด่วย ๆ คุณเข้าไปใน Youtube กดค้นหาตาม Keyword ที่ต้องเมื่อเลือกคลิปที่จะดูกลับกลายเป็นว่าเจอโฆษณา ดักหน้า ดักกลาง ดักหลัง คุณจะรู้สึกอย่างไร หรือเมื่อคุณเข้าเว็บไซต์หนึ่งเพื่อที่จะอ่านข่าว กลับเจอแบนเนอร์ปิดทั้งหน้าเพจ หรือหน่วงเครื่องจนทำงานช้า คุณจะรู้สึกอย่างไร ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้เองจึงกลายเป็นที่มาของการใช้ Ad Blocking ในปัจจุบัน และทำให้คนทำโฆษณา และผู้ผลิตเนื้อหานั้นปวดหัวอยู่ว่าจะต่อสู้หรือแก้ไขปัญหานี้อย่างไรดี หลาย ๆ ท่านจึงใช้วิธีตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดยทำการบล็อกหรือไม่ให้บริการผู้บริโภคที่ใช้ Ad Blocking แทนขึ้นมา ซึ่งกลายเป็นว่าผู้บริโภคนั้นเป็นผู้ผิดในการที่ไม่อยากดูโฆษณาเหล่านี้ ทั้งที่ความผิดนี้มาจากโฆษณาที่ไร้ประโยชน์มากกว่า
ทั้งนี้ในงาน Cannes Lions ทางประธานของ PepsiCo ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจในต่อ Ad Blocking ว่ามีผลดีต่ออุตสาหกรรมของคนทำโฆษณาและ Digital Marketing เพราะสามารถจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นดีขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งทางผมเองก็เห็นด้วยอย่างมาก เพราะตลอดที่ผ่านมานักการตลาดนั้นสร้างสรรค์โฆษณาที่ไม่ได้ประโยชน์ต่อผู้บริโภค แต่ต่อจากนี้ไปนักการตลาดนั้นต้องคิดและทำว่าจะสร้างสรรค์การสื่อสารแบบไหนที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ขึ้นมาแทน ลองคิดว่าทำไมคิดเข้า Youtube ไปดูคลิปต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ หรือทำไมคนเข้าโรงภาพยนตร์เพื่อไปดูภาพยนตร์ นั้นก็คือผู้บริโภคนั้นต่างหาสิ่งที่ให้ความบันเทิงกับตัวเอง นี้เองคือสิ่งที่นักการตลาดที่ต้องคิดต่อไปว่าแบรนด์จะให้ความบันเทิงได้อย่างไร และสิ่งที่แบรนด์จะเป็นต่อไปคือการที่แบรนด์นั้นต้องเริ่มคิดแบบอุตสาหกรรมบันเทิงแทน
สิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นนั้นคือกระบวนการ Ad Blocking นั้นคือการคัดเลือกตามธรรรมชาติ ที่ทำให้นักการตลาดที่เข้าใจว่าผู้บริโภคต้องการอะไรนั้นอยู่รอด และทำให้คนที่ไม่ปรับตัวนั้นอยู่ไม่รอด นอกจากนี้ยังทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นในอินเทอร์เนตจะเริ่มมีแต่เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และการทำเนื้อหาโฆษณานั้นกลายเป็นเนื้อหาที่ผู้บริโภคชอบมาได้ กลายเป็นเนื้อหาที่มีคุณค่าต่อผู้บริโภคขึ้นมา แล้วแน่นอนเมื่อเนื้อหานั้นดี ผู้บริโภคก็จะอยากดูจนจบและจำแบรนด์ได้ จนถึงบริโภคแบรนด์นั้นได้
การมาถึง Ad Blocking นี้เป็นสัญญาณที่ปลุกนักการตลาดให้ตื่นขึ้นจากการทำโฆษณาขยะที่ไม่ได้ประโยชน์อะไร และทำเนื้อหาที่ดีที่มีประโยชน์มากขึ้นไปอีกในอนาคต
Copyright © MarketingOops.com