ตามดูกลยุทธ์ dtac – AIS จุดพลุหนุน Startup ทำอย่างไรให้แจ้งเกิด

  • 19
  •  
  •  
  •  
  •  

Resize of 8B0A4803

ช่วงเวลานี้ Startup มาแรงสุดๆ ในบ้านเรา รัฐบาลจัดงาน Startup Thailand 2016 เพื่อสนับสนุนให้ Startup ไทยแจ้งเกิดในเวทีระดับโลก ดึงดูดนักลงทุนและ Tech Talent จากทั่วโลกให้เข้ามาทำงานด้วย ซึ่งการจะประสบความสำเร็จได้ ภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่สามารถผลักดันได้ ต้องมีภาคเอกชนร่วมด้วย ซึ่งเอาจริงๆ แล้ว ภาคเอกชนที่มีบทบาทมาตั้งแต่ 3-4 ปีที่แล้วคือ ผู้ให้บริการมือถือ โดยเฉพาะ dtac และ AIS ที่มีโครงการ Incubation

ล่าสุดในงาน Startup Thailand 2016 ทั้ง 2 รายได้อัพเดทสถานการณ์ล่าสุด โดย dtac ได้ประกาศรายชื่อ 11 ทีมสุดท้ายจากงาน Pitch Day ของโครงการ dtac accelerate bath4 ทั้ง FinTech, AgriTech, HealthTech, SportTech, BeautyTech, InsuranceTech, IOT ช่วยคนตาบอด, Retail Commerce, และ Cloud Source ช่วยผลักดันให้เงินทุนสนับสนุนและหานักลงทุน raise fund ให้ในระดับโลก พร้อมสนับสนุนให้สามารถเปิดตลาด ไปสู่ตลาดลูกค้าของเทเลนอร์กว่า 200 ล้านคน ที่มีอยู่ทั้ง 13 ประเทศทั่วโลก

Pitch day_0303

ทั้ง 11 ทีมงัดเอาความคิดสร้างสรรค์ โซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการในไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน รวมถึง Business Model และความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานให้สำเร็จ เข้ามาประชันต่อหน้ากรรมการและ Mentors อย่างคึกคัก ปีนี้หลายๆ ทีมมีไอเดียที่ดี และทีมงานมีศักยภาพสูง ทำให้คณะกรรมการตัดสินใจด้วยความยากลำบากซึ่งทุกทีมที่เข้ารอบได้เลือก Mentors ที่จะช่วยให้คำปรึกษาประจำทุกทีมอย่างใกล้ชิด ตลอดระยะเวลา 4 เดือนของโครงการ โดยมี Mentor ที่จะช่วยดูแลและโค้ชชิ่งให้กับทั้ง 11 ทีม ดังนี้

1. นายทิวา ยอร์ค จาก Kaidee.com จะเป็น Mentor ให้กับทีม Fabbrigade และทีม Visionear

2. นายอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย เป็น Mentor ให้กับทีม Fastwork

3. นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ หรือป้อม Tarad.com เป็น Mentor ประจำทีม CloudCommerce และ Savinsure

4. นายณัฐวุธ พึงเจริญพงศ์ หรือหมู Ookbee  เป็น Mentor ทีม Finnomena และทีม PlanforFit

5. นายไผท ผดุงถิ่น หรือโบ๊ท จาก Builk ดูแลทีม Health at Home และ Freshket

6. นายกิตตินันท์ อนุพันธ์ หรือแจ็ค Claim di ดูแลทีม Eventpass และทีม WearandShare

ซึ่งทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินทุนทีมละ 5 แสนบาท ถึง 1.5 ล้านบาท พร้อมรับการสนับสนุนในเชิงพาณิชย์มูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้า Boot Camp วันแรก คอร์สอบรม Intensive Boot Camp  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2559 และนำเสนอผลงานรอบสุดท้ายประกาศผลในวัน Demo day ในเดือนสิงหาคมนี้

สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการนวัตกรรมธุรกิจของ dtac accelerate บอกว่า โครงการ 3 ปีแรกที่ผ่านมา โครงการ dtac accelerate ถือว่าประสบความสำเร็จ มี Startup ที่สามารถอยู่รอดและเติบโตหลายราย เช่น Claim di ที่อยู่ระดับ series A เป็นรายแรกของประเทศไทย Tech Farm แอปพลิเคชั่นที่ช่วยภาคเกษตรกรรมของไทย เพื่อเพิ่มผลผลิตฟาร์มกุ้งฟาร์มปลาส่งออกสู่ตลาดโลก,  Piggipo ที่ช่วยบริหารจัดการบัตรเครดิต ที่เติบโตขยายธุรกิจไปกว่า 6 ประเทศในอาเซียน, Skootar แอปพลิเคชั่นที่ช่วย SME ในการรับส่งเอกสาร เก็บเช็ค วางบิล, Drivebot อุปกรณ์ที่ช่วยเก็บข้อมูล ตรวจเช็ครถยนต์, Giztix บริการที่ช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมโลจิสติก

dtac accelerate จะเน้นลงทุนในระดับ seed ประมาณ 20,000 – 50,000 ดอลลาร์ เพื่อถือหุ้นประมาณ 6-8% จากนั้นจะให้การช่วยเหลือในด้านอื่นๆ เพื่อให้ Startup ก้าวไปสู่ระดับ serie A, B ต่อไป ซึ่งผลตอบแทนที่ dtac ได้รับคือ มูลค่าผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว รวมถึงสร้างบริการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

13106046_10153405632476020_427681602_o

AIS – INVENT ปลุกปั้นและลงทุนสร้าง Startup

สุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารผลิตภัณฑ์ ของ AIS บอกว่า AIS มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนในการสนับสนุน Startup โดยผั่งของ AIS จะเน้นการส่งเสริมและสนับสนุน ที่ผ่านมามีโครงการ AIS The Startup ประกวด Startup หาผู้ชนะเพื่อส่งเสริมด้านการตลาด และพาไปสู่ตลาดระดับโลก โดยปัจจุบันมี Startup ที่ทำตลาดร่วมกับ AIS รวม 21 ราย และได้เปิดโครงการใหม่เพื่อให้ Startup ที่มีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจนมาร่วมกับ AIS โดยตรง คือ โครงการ AIS The Startup CONNECT โดยมีการสนับสนุน 3 แกนหลัก

1. Payment เพื่อให้ Startup มีช่องทางในการเก็บค่าบริการด้วย mPay ทำให้ Startup โฟกัสอย่างเต็มที่กับการให้บริการ ไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดเก็บรายได้

2. Market Support ช่วยการเข้าถึงลูกค้า ผ่านช่องทางที่ AIS มี

3. Go to Market พา Startup ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

ทั้งนี้ AIS ได้ Guide แนวทางสำหรับ Startup ที่ต้องการร่วมมือกับ AIS และประสบความสำเร็จคือ

1. Job to be done – หาสิ่งที่ยังไม่มี หรือมีแล้วแต่ยังไม่ตอบโจทย์

2. Easy to use – ใช้งานง่าย ใครก็ใช้ได้

3. Business Model Innovative – มีโมเดลธุรกิจแบบใหม่
13105871_10153405632486020_1116275433_o (1)

ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน ของ INTOUCH ผู้ดูแล INVENT บอกว่า ที่ผ่านมา INVENT ลงทุนใน Startup ไปแล้ว 9 ราย สามารถขายกิจการให้บริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีไปแล้ว 1 ราย คือ Computerlogy และยังเหลืออีก 8 ราย ที่มีศักยภาพในการให้บริการและขยายธุรกิจให้เติบโต นี่คือการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่าง AIS ที่เน้นการสนับสนุน และ INVENT ที่ทำด้านการลงทุน ล่าสุด INVENT ได้ลงทุนใน วงใน Startup ให้บริการข้อมูล ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับ AIS ได้ดี และขึ้นสู่ระดับ serie B ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในการลงทุน

สำหรับการลงทุนของ INVENT มีงบประมาณต่อปีกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาเน้นการลงทุนในระดับ Seed เป็นหลัก ประมาณ 10 ล้านบาท แต่จากนี้จะเริ่มต้นลงทุนใน serie A มากขึ้น ซึ่งใช้งบประมาณ 1-3 ล้านดอลลาร์ต่อราย


  • 19
  •  
  •  
  •  
  •