เวลานี้กระแส Startup กำลังมาแรงสุดๆ รัฐบาลก็กระโดดมาร่วมวงด้วย โดยจัดงาน Startup Thailand 2016 กำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว รวมถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องกับ Startup เพื่อช่วยให้การตั้งต้นธุรกิจง่ายขึ้น เอื้อต่อการเติบโต และดึงดูดนักลงทุน (VC) สร้างบรรยากาศการลงทุนให้เกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายภาษีที่เพิ่งประกาศใช้ไปคือ พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 597 พ.ศ. 2559 สรุปสาระสำคัญง่ายๆ 2 ส่วน
– สิทธิประโยชน์สำหรับ Startup ได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 5 ปี
มีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้
1. จดทะเบียนในประเทศไทย มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมียอดขายไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
2. ได้รับหนังสือรับรองจาก สวทช. ว่าเป็น Startup ใน 10 อุตสาหกรรม ต่อไปนี้
– อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร
– อุตสาหกรรมเพื่อประหยัดพลังงาน ผลิตพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด
– อุตสาหกรรมฐานเทคโนโลยีชีวภาพ
– อุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุข
– อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– อุตสาหกรรมวัสดุก้าวหน้า
– อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับ
– อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
– อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และบริการสารสนเทศ
– อุตสาหกรรมฐานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม หรืออุตสาหกรรมใหม่
3. มีรายได้จากกิจการหลักของ Startup อย่างน้อย 80% ของรายได้ทั้งหมด
4. ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีของ BOI
5. ลงทะเบียนเพื่อยื่นคำร้องเป็น Startup ในเว็บกรมสรรพากรภายใน 31 ธ.ค. 60 เพื่อให้อธิบดีฯ อนุมัติ แล้วรอแจ้งผลอนุมัติภายใน 15 วัน โดยให้มีผลให้วันถัดจากวันที่อธิบดีอนุมัติเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก
– สิทธิประโยชน์สำหรับ VC ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เงินปันผล และ Capital Gain เป็นเวลา 10 ปี
มีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้
1. ต้องเป็นบริษัทไทยที่มีทุนจดททะเบียนชำระแล้ว 20 ล้านบาทขึ้นไป
2. ลงทะเบียนเป็น VC กับ กลต. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 59 โดยจะเริ่มนับวันที่จดแจ้งกับ กลต เป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก
3. ต้องลงทุนใน Startup ที่ได้รับหนังสือรับรองจาก สวทช.
4. VC ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เงินปันผล และ Capital Gain จากการขายหุ้นของ Startup เป็นเวลา 10 ปี
5. ผู้ถือหุ้นของ VC ไม่ต้องเสียภาษีเงินปันผล และ Capital Gain จากการขายหุ้นของ VC และไม่ต้องเสียภาษีกำไรสะสมที่จ่ายจาก VC เมื่อ VC เลิกกิการ เป็นเวลา 10 ปี
Source: ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ ที่ปรึกษากฎหมายภาษีของ iTAX และ กรมสรรพากร