กูลิโกะป๊อกกี้ กับเกร็ดความรู้ยิบย่อยที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน กูลิโกะเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นที่ผลิตและจำหน่านผลิตภัณฑ์ขนมหลากหลายไลน์สินค้า ก่อตั้งครั้งแรกที่ Nishi-ku, Osaka ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 1922 ขนมจาก กูลิโกะ ที่เข้ามาในไทยครั้งแรกเมื่อปี 1970 และเป็นประเทศแรกอีกด้วยที่ กูลิโกะ เลือกเข้ามาขยายกิจการ ปัจจุบัน กูลิโกะมีวางจำหน่ายไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแทบเอเซีย และ
โอกาสหน้าเราสัญญาว่า จะนำเรื่องราวของ กูลิโกะ ในประเทศไทยมาเล่าสู่กันฟังอย่างแน่นอน แต่สำหรับบทความนี้ เราไปดูกันดีกว่าว่า Fact ทั้ง 10 ข้อ ของกูลิโกะป๊อกกี้จะมีอะไรบ้าง
1. รู้หรือไม่ กูลิโกะ มีจุดเริ่มต้นจาก ‘หอยนางรม’ เรื่องราวคือ นาย Ri-ichi Ezaki ผู้ก่อตั้ง กูลิโกะ เคยอ่านเจอในหนังสือพิมพ์ว่า Glycogen (ไกลโคเจ้น) ที่อยู่ในหอยนางรมมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเขามักเห็นเป็นประจำว่าชาวประมงในหมู่บ้านมักจะต้มหอย และน้ำที่ต้มเททิ้งทุกครั้ง เขาจึงขอซื้อหอยนางรมจากชาวประมงมาต้มและวิจัยที่มหาวิทยาลัยคิวชู แต่ในระหว่างนั้น ลูกชายของ Ri-ichi Ezakio ก็ล้มป่วยเป็นไทฟอยด์ ซึ่งหมอยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ แม้จะดูสิ้นหวังแต่คนเป็นพ่อก็ไม่ย้อท้อ เขาจึงขออนุญาติหมอ ลองให้ลูกชายได้ดื่มน้ำต้มหอยนางรม
ปรากฎว่าอาการของลูกชายเขาดีขึ้นเรื่อยๆ (ตอนนั้นเขาเองก็ยังไม่รู้ว่า Glycogen จะช่วยบำบัดโรคไทฟอยด์ได้) จนกระทั่งลูกชายเขาหายจากอาการป่วย Ri-ichi Ezaki จึงรู้ว่า Glycogen เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และช่วยเยียวยาโรคได้ เขาจึงคิดอยากผลิตขนมที่เด็กญี่ปุ่นกินแล้วร่างกายแข็งแรง มีประโยชน์ โดยจะใช้ Glycogen เป็นส่วนผสม จึงเป็นที่มาของชื่อยี่ห้อ Glico แปลงมาจาก Glycogen (ญี่ปุ่นจะออกเสียงว่า กูลิโกะ) และใช้ชื่อบริษัทว่า Ezaki Glico Co., Ltd.
2. โลโก้ของ กูลิโกะ มาจากการที่ นาย ริอิจิ มักจะไปดูการแข่งขันกรีฑาบ่อยๆ เขาเห็นว่าคนที่วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นคนแรกมักจะชูมือด้วยสีหน้าปีติดีใจและก็เป็น symbolic ของคนที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง จึงเป็นแรงบันดาลใจมาสู่การสร้างสรรค์โลโก้ของ กูลิโกะ
3. ขนมรุ่นแรกที่ กูลิโกะ ทำออกมา เป็นเม็ดอมคาราเมลผสม Glycogen รูปหัวใจ
4. ในตอนแรก กูลิโกะตั้งใจจะทำป๊อกกี้แบบเคลือบช็อกโกแลตทั้งแท่ง แล้วมีฟอยด์สำหรับจับขนมกันมือเลอะ แต่ต้นทุนฟอยด์แพงมาก ป๊อกกี้ เลยเคลือบช็อกโกแลตโดยเหลือบริเวณปลายแท่งไว้สำหรับจับเพื่อไม่ให้มือเลอะเวลากิน
5. ไทย เป็นประเทศแรกที่กูลิโกะเลือกเข้ามาลงทุน เมื่อปี 1970 ณ ตอนนั้นขนม ป๊อกกี้ ถือเป็นขนมที่เป็นที่ฮือฮาและมีราคาสูงในยุคนั้น
6. Pocky ป๊อกกี้ มีขายขึ้นครั้งแรกที่ญี่ปุ่น ปี 1966 เป็นบิสกิตแบบแท่งเคลือบช็อกโกแลต ต่อมาในปี 1971 มีการนำอัลมอนด์มาเคลือบทับอยู่บนช็อกโกแลต และสำหรับรสสตรอเบอร์รี่นั้นออกมาในปี 1977 เป็นขนมที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
7. สำหรับป Pocky ในยุโรปจะเรียกป๊อกกี้ว่า มิกาโดะ ซึ่งผู้จัดจำหน่านในยุโรปคือบริษัท Mondelēz International
8. มาเลเซียเรียก Rocky เพื่อไม่ให้ไปพ้องเสียงกับคำว่า Porky ที่แปลว่าหมู แต่คำว่า Rocky ที่ปรากฎนั้นเป็นเพียงแพคเกจจิ้งดีไซน์ ชื่อทางการค้ายังคงเป็น Pocky
8. Pretz เพรทซ์ เป็นขนมบิสกิตแบบแท่งคล้าย ป๊อกกี้ แต่รสชาติและต้นแบบห่างไกลกับป๊อกกี้นัก เพราะเพรทซ์มีต้นแบบมาจาก เพรทเซิล ซึ่งจุกแตกต่างจากกป๊อกกี้คือ เพรทซ์ จะโรยด้วยผงปรุงรสซึ่งทำรสชาติที่แตกต่างกันออกมากว่า 80 รสชาติ (รวมที่จำหน่ายอยู่ในแต่ละประเทศ)
9. ในฮ่องกงมีเพรทซ์ รสหูฉลาม กับ รสหอยเป๋าฮื้อ
10. วันที่ 11 เดือน 11 เป็นวัน “Pretz & Pocky Day” ซึ่งเป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงการเกิดขึ้นของขนมที่เป็นที่ถูกอกถูกใจของคนทั่วโลก โดยมีแนวคิดมาจากความต้องการของ Ri-ichi Ezaki ที่อยากเด็กญี่ปุ่นได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายไปพร้อมๆกับการได้ทานขนมที่มีรสอร่อย
ซึ่งในวันที่ 11 พ.ย. 2012 คำว่า “Pocky” ถูก mention ในทวิตเตอร์มากถึง 1,843,733 ครั้งในวันเดียว เป็นสถิติใหม่ที่ถูกบันทึกใน Guinness World Records และปีถัดมาในวันเดียวกัน สถิตินั้นถูกทำลายลงเพราะมีการ mention ถึงคำว่า “Pocky” ในทวิตเตอร์เพิ่มขึ้นเป็น 3,710,044 ภายในหนึ่งวัน