ย้อนอดีตบริษัทที่เคยยื่นข้อเสนอซื้อ Facebook เมื่อสมัยที่ยังเป็น Startup

  •  
  •  
  •  
  •  
  •  

อย่างที่เราทราบกันดีว่า Facebook ขึ้นแท่นโซเชียล มีเดียอันดับ 1 ของโลกไปแล้ว โดยมีผู้ใช้งาน active users มากกว่า 15,000 ล้านคนต่อเดือน

ทั้งนี้ ตามหนังสือ  The Facebook Effect ของ David Kirkpatrick เผยเกี่ยวกับช่วงเวลาก่อร่างสร้างบริษัทว่า ในยุคแรกๆ นั้นจัดว่า Facebook นั้นเนื้อหอมมากทีเดียว เป็นที่หมายปองของบริษัทด้านเทคโนโลยีใหญ่ๆ หลายรายอย่างมาก ที่จ้องจะควบรวมกิจการไม่ก็ยึดครองมาเป็นของตัวให้ได้

ในช่วง 4 เดือนแรกเริ่มนั้นหลังจากที่ Facebook ก่อตั้งขึ้น ก็มีหลายบริษัทที่ยื่นข้อเสนอพร้อมเงินจำนวนมหาศาลให้กับ Mark Zuckerberg เพื่อแลกกับการขายบริษัท แน่นอนว่า ในวันนี้ทุกคนคงทราบดีแล้วว่าเขาปฏิเสธทุกข้อเสนอ ลองมาไล่เลียงกันสิว่ามีบริษัทไหนกันบ้างที่เข้ามายื่นชิ้นเนื้อก้อนโตให้กับเขา

mark1

ปี 2004 นักการเงินไม่เปิดเผยชื่อยื่นข้อเสนอ 10 ล้านดอลล่าร์

ย้อนไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2004 เป็นเวลาประมาณ 4 เดือนหลังก่อตั้ง Facebook ซึ่งมีบริษัทจากภายนอกมากมายเข้ามาติดต่อขอลงทุนด้วยกับผู้ก่อตั้งหนุ่มวัย 20 ปี Mark Zuckerberg หนึ่งในนั้นคือ นักการเงินชาวนิวยอร์กรายหนึ่ง เสนอเงิน 10 ล้านให้กับเขา ซึ่งเขาไม่เสียเวลาคิดเรื่องข้อตกลงนั้นแม้แต่นาทีเดียว

Friendster พยายามซื้อ Facebook

หนึ่งในผู้สนใจ Facebook อีกรายก็คือ Friendster เครือข่ายชุมชนออนไลน์ในยุคไล่ๆ กับ Hi5 ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นโซเชียลฯ ที่เฟื่องฟูมาก ก่อนที่จะพ่ายให้กับ Facebook ไปในที่สุด แน่นอนว่าดีลนี้ล้มเหลว

หน้าร้อน ปี 2004 Google ก็มาเคาะประตู

Mark และเพื่อนนักเรียน Harvard หาบ้านเช่าอยู่กันที่ Palo Alto ในช่วงซัมเมอร์ปี 2004 มันเป็นช่วงเวลาไม่นานนัก จากนั้นก็มีอีก 2 คนเป็นฝ่ายบริหารของ Google เข้ามา เพื่อหาหนทางที่พอจะเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันหรือไม่ก็ซื้อ TheFacebook (ชื่อเดิม) ไปเลย

ในเดือนมีนาคม ปี 2005 Viacom วางเงิน 75 ล้านดอลล่าร์บนโต๊ะ

ระหว่างช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี 2005 Facebook (ซึ่งตอนนั้นใช้ชื่อ TheFacebook) กำลังคุยอยู่กับ The Washington Post Company เกี่ยวกับการเรื่องลงทุน

และจู่ Viacom บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ก็โผล่มาจากไหนก็ไม่รู้ ยื่นข้อเสนอขอซื้อบริษัทในมูลค่าสูงถึง 75 ล้านดอลล่าร์ โดยที่จะทำให้ Mark ได้รับคนเดียวสูงถึง 35 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งทำให้ Sean Parker ประธาน Facebook ในสมัยนั้น ยื่นข้อเสนอที่มากกว่าต่อ the Post

ในปี 2005 Myspace ก็ต้องการซื้อเช่นกัน

ช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2015 MySpace โดยซีอีโอ Chris DeWolfe เข้าไปพบกับ Mark และทีม เพื่อเจรจาถึงความเป็นไปได้ที่จะซื้อ TheFacebook ซึ่งในวันนั้นนอกจากจะมี Mark แล้ว ยังมี Sean Parker ซึ่งเป็นประธานบริษัท และ Matt Cohler ที่ปรึกษา แต่เหตุผลที่พวกเขายอมไปพบก็เพราะว่าคิดว่า Chris เป็นผู้ชายที่น่าสนใจดี และพวกเขาก็ชื่นชอบ MySpace เอามากๆ ด้วย

บริษัทแม่ของ MySpace ได้แก่ News Corp มาเอง พร้อมกับความคิดเดิม

ในเดือนมกราคม 2006 เมื่อ Ross Levinsohn หัวหน้าของ News Corpdigital บินมาพบกับ Mark และ Matt Cohler ที่ลอสแองเจลิส ซึ่ง Ross ยืนยันที่จะซื้อ TheFacebook แต่เขากังวลเรื่องการทำให้มันเติบโตต่อไปได้

“นี่คือความแตกต่างระหว่างบริษัทที่ลอส แองเจลิส กับที่ซิลิคอน วัลเลย์” Mark กล่าวไว้ในหนังสือ The Facebook Effect และบอกอีกว่า “พวกเราสร้างสิ่งนี้ แล้วกลุ่มคนพวกนี้  (MySpace) กลับไม่รู้อะไรเลย”

Viacom กลับมาอีกครั้งในปี 2005

Viacom ไม่ยอมแพ้กับ Facebook ช่วงปลายปี 2005 Focus groups ได้บอกว่าผู้ชม MTV ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเว็บนี้ ดังนั้น Mark จึงบินไปที่นิวยอร์กเพื่อพบกับ Tom Freston ซีอีโอ ซึ่งทาง Tom นั้นได้ชักแม่น้ำทั้งห้าทุกอย่างที่เห็นว่า MTV และ Facebook สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ Mark ไม่สนใจ “มันคือการประชุมแบบ no-thank-you ”

NBC พบกับ Facebook ในปี 2005

ในส่วนนี้ Kirkpatrick ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากนัก แต่ก็มีข้อมูลที่ระบุว่าทีมผู้บริหารจาก NBC เข้าไปพบกับทาง Facebook ในปี 2005

Viacom กลับมา (อีกแล้ว) ในปี 2006

ต้นปี 2006 Michael Wolf  บอสใหญ่ MTV พบกับทาง Facebook เป็นครั้งสุดท้าย โดย Mark ได้บอกกับเขาว่าเขาคิดว่าบริษัทนี้มีมูลค่ามากถึง 2 พันล้านดอลล่าร์ จากนั้น 2-3 สัปดาห์ต่อมา Viacom ก็ยื่นข้อเสนอให้กับเฟซบุ๊กเป็นเงิน 800 ล้านถึง 1,500 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งตอนนั้น Facebook เกือบจะขายอยู่แล้วเชียว แต่ก็ยังยืนยันในจำนวนเงินที่มากกว่านี้

ซึ่งทางซีเอฟโอของ Viacom กลับกังวลเกี่ยวกับการจ่ายเงินจำนวนมากให้กับบริษัทหนึ่งซึ่งตอนนั้นยังมีรายได้ต่อปีเล็กน้อย ทำให้ดีลนี้ตกไป แล้ว Viacom ก็ไม่กลับมาอีกเลย

ในเดือนมิถุนายน 2006 Yahoo ตัดสินใจว่าอยากจะได้ Facebook

ในช่วงซัมเมอร์ปี 2006 Yahoo ตัดสินใจยื่นข้อเสนอ 1 พันล้านดอลล่าร์ให้ ซึ่งนักลงทุนและผู้บริหารหลายคนของ Facebook ต้องการที่จะขาย แต่ช่วงนั้น Facebook เองก็เพิ่งจะลอนซ์ News Feed ออกไป ซึ่งถ้ามันไปได้สวย Mark ก็เชื่อว่าบริษัทจะมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลล่าร์

มีเหตุการณ์หนึ่ง Yahoo ยื่นข้อเสนอที่ต่ำมากในราคา 850 ล้านดอลล่าร์ หลังจากที่ประกาศรายได้ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งแย่มาก แต่ทีมผู้บริหาร Facebook ใช้เวลาแค่ 10 นาที ในการตัดสินใจปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

ในปี 2006 AOL มายื่นข้อเสนอด้วย

Jonathan Miller ซีอีโอ AOL ตัดสินใจที่จะซื้อ Facebook ในช่วงกลางปี 2006 เขายังโน้มน้าว  Anne Moore ซีอีโอ Time Inc. ให้ยกขบวนมาร่วมในดีลนี้ด้วย แต่ก่อนที่เขาจะทำนั้น เขาวางแผนให้กับ AOL ว่าจะขาย MapQuest และ Tegic และ Time Inc ก็จะขาย IPC และพวกเขาก็ยื่นข้อเสนอให้กับ Facebook ถึง 1 พันล้านดอลล่าร์ แต่ Jeff Bewkes ซีอีโอ Time Warner ก็ปฏิเสธความคิดนี้

Yahoo กลับมาอีก ในช่วงใบไม้ร่วง ปี 2006

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2006 Yahoo กลับมาหา Facebook พร้อมกับข้อเสนอว่าจะจ่ายให้ 1 พันล้านดอลล่าร์หรือมากกว่า แต่เป็นช่วงที่ Facebook เข้าถึงกลุ่มนักเรียนนักศึกษาทั้งวิทยาลัยและไฮสคูลมากขึ้นแล้ว และมีผู้ลงทะเบียนเพิ่มขึ้นจากวันละ 2 หมื่นคนต่อวันเป็น 5 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งผู้บริหารและนักลงทุนของ Facebook ค่อนข้างโอเค.กับข้อเสนอนี้ แต่มีคนเดียวที่ไม่เห็นด้วยได้แก่ Owen Van Natta ซีโอโอของบริษัท (ซึ่งตอนนี้เขาไม่ได้อยู่ Facebook อีกแล้ว)

Tim Armstrong โน้มน้าวบอร์ด Google ให้เขาร่วมประมูล Facebook ในปี 2007

ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2007 Tim Armstrong ได้โน้มน้าวให้บอร์ด Google เข้าไปดำเนินการงานด้านโฆษณาระหว่างประเทศให้กับ Facebook

“บอร์ด Google อนุมัติ แถมยังพูดถึงเรื่องการเจรจาซื้อกิจการอีกด้วย ถ้าเกิดว่ามันเป็นไปได้” Kirkpatrick เขียนเอาไว้ในหนังสือ แต่ Google ก็ไม่เคยดีลเรื่องนี้ แต่ยื่นข้อเสนอที่จะลงทุนใน Facebook ที่ 15,000 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงบริษัทของ Mark ไปตลอดกาล

“ทำไมไม่ให้เราซื้อในราคา 15,000 ล้านดอลล่าร์ไปเลยล่ะ?” ซีอีโอ Microsoft ถาม Mark

Steve Ballmer ซีอีโอ  Microsoft ยื่นข้อเสนอที่จะซื้อบริษัทในปี 2007 แต่ตัว Steve เองก็รู้ดีว่า Mark จะไม่มีทางยอมปล่อยให้เข้าควบคุม Facebook แน่นอน เขาจึงมาพร้อมกับข้อเสนอการได้รับสิทธิ์ใน Genentech ของ Hoffman-LaRoche ด้วย

Kirkpatrick อธิบายว่า Microsoft จะได้เสต็กชิ้นเล็กๆ จากใน Facebook ในราคา  15,000 ล้านดอลล่าร์ จากนั้นในทุกๆ  6 เดือน Microsoft ก็จะซื้อ 5 เปอร์เซ็นต์จาก Facebook ซึ่งไม่นานพวกเขาก็จะเทคโอเวอร์บริษัทโดยสมบูรณ์ภายในเวลาแค่ 5-7 ปี”

แต่สิ่งนี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม Microsoft  ก็ซื้อ 1.6% จาก Facebook เป็นเงินราว 250 ล้านดอลล่าร์ ซึ่งดีลนี้ทำให้ Facebook มีมูลค่าถึง 15,000 ล้านดอลล่าร์

ที่มา


  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
pigabyte
การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น มาเรียนรู้และสนุกไปกับบทความ จาก MarketingOops! กันนะคะ แล้วเราจะได้ค้นพบว่าโลกของ Marketing นั้น So Sexy and Cool!