ทำไม ‘สินค้ามือ2’ บูมในเอเชียสวนทางเศรษฐกิจโลก ยังไม่พอ! แผ่อำนาจ Resale ไปยุโรปด้วย

  • 448
  •  
  •  
  •  
  •  

หลายคนอาจจะคิดว่า สินค้ามือ 2’ ที่คนเราตัดสินใจซื้อจะต้องเป็นสินค้าแบรนด์เนมเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงรู้หรือไม่ว่ายังมีสินค้าประเภทอื่นๆ อีกมากที่ได้รับความนิยมไม่ต่างกัน และก็ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย หรือ คนเอเชียเท่านั้นที่ชื่นชอบซื้อสินค้ามือ 2 แม้แต่ในโซนยุโรปบางประเทศก็เริ่ม popular ไม่แพ้กันเลย

ผลการศึกษาของ Berenberg Bank ของเยอรมนี เปิดรายงานเกี่ยวกับ ตลาดสินค้ามือ 2 ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2014-2020 โดยในปี 2020 คาดการณ์ว่าจะแตะระดับอยู่ที่เกือบ 10% ของตลาดสินค้าทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าตลาดกว่า 20,000 ล้านยูโร (เกือบ 70,000 ล้านบาท) ทั้งยังประเมินไปอีก 3 ปีข้างหน้าว่าตลาดสินค้ามือ 2 น่าจะเติบโตแตะระดับที่ 15-20%

หนึ่งในข้อมูลที่น่าสนใจของธนาคารสัญชาติเยอรมัน ชี้ด้วยว่า ‘สินค้าหรู’ (luxury resale items) เป็นสินค้าที่มีการเติบโตมากที่สุดในบรรดากลุ่มสินค้ามือ 2 ทั้งหมด ซึ่งไม่ได้ระบุเจาะจงว่าต้องเป็นสินค้าแบรนด์เนมเท่านั้น แต่หมายถึงรวมสินค้า ‘ทำมือ’ (handmade) แบบงานประณีต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าตั้งแต่ รองเท้า กระเป๋า ไปจนถึง เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งต่างๆ เป็นต้น

 

ตลาดสินค้ามือ 2 ใน เอเชีย เติบโตมากสุด

Fanny Moizant, co-founder และ Asia-Pacific vice-president ของเว็บไซต์ชอปปิ้งสินค้าหรู Vestiaire Collective ของฝรั่งเศส กล่าวว่า พฤติกรรมการซื้อสินค้ามือ 2 ของคนเอเชียมีความน่าสนใจมาก โดยนับตั้งแต่ปี 2018 สังเกตเห็นว่า อัตราการเติบโตจากภูมิภาคเอเชียเฉลี่ยอยู่ที่เลข 2-3 หลัก เทียบกับภูมิภาคอื่นที่เติบโตในระดับเลข 1-2 หลักเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เราทำให้เลือกฮ่องกงเป็น hub ของภูมิภาคนี้

 

สำหรับสินค้ามือ 2 ที่คนเอเชียนิยมซื้อมากที่สุด อ้างจากผลการศึกษาปี 2019 ของ Mintel บริษัทวิจัยด้านการตลาดของอังกฤษ ที่ชี้ว่า มีสินค้าอยู่ 7 ประเภทหลักๆ ที่คนเอเชียเลือกที่จะซื้อเป็นสินค้ามือ 2 มากที่สุด ได้แก่

  1. รถยนต์
  2. รถจักรยาน
  3. หนังสือ
  4. สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (กล้องถ่ายรูป, โทรศัพท์มือถือ)
  5. เฟอร์นิเจอร์
  6. เครื่องใช้ภายในบ้าน (ตู้เย็น, โทรทัศน์, เครื่องซักผ้า)
  7. ของใช้ส่วนตัว (เสื้อผ้า, กระเป๋า, นาฬิกา, รองเท้า)

สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Global Market Insite (GMI) ของสหรัฐอเมริกา ที่ชี้ว่า สินค้ามือ 2 ได้แผ่อำนาจไปหลายประเทศเอเชียในปัจจุบัน เช่น ประเทศจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ เป็นต้น ที่น่าสนใจก็คือ สัดส่วน ผู้หญิงที่ชอบซื้อสินค้ามือ 2 มีมากกว่า ผู้ชายอยู่ที่ 35% ต่อ 25% (เฉลี่ยระหว่างปี 2017-2019)

 

 

 

สินค้ามือ 2 ‘ญี่ปุ่น ได้รับความนิยมมากสุดในอาเซียน

สำหรับตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เราเรียก ‘อาเซียน’ โดยเฉพาะในไทย กับ เวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดที่ชื่นชอบสินค้า used goods จากญี่ปุ่นมากที่สุด ไม่ใช่แค่ เสื้อผ้า อย่างที่เราเคยเห็นกันตามท้องถนนในไทย แต่ร้านค้าแบบออฟไลน์ที่ขายสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก็ได้รับความนิยมมากไม่ต่างกัน รวมไปถึงอุปกรณ์หรืออะไหล่รถยนต์ที่นำเข้ามาจากญี่ปุ่นด้วย

ผลวิจัยของ Japan Re-use Business Journal ให้เหตุผลที่น่าจะมีความเป็นได้ว่า ทำไมสินค้ามือ 2 ของญี่ปุ่นเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ ได้รับความนิยมในตลาดเอเชีย จนกลายเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับคนญี่ปุ่น นั่นมีอยู่ 4 เหตุผล ได้แก่

  1. ราคาเข้าถึงง่ายขายคล่อง (เพราะคุณสมบัติใกล้เคียงกับชาติเอเชียอื่น)
  2. คุณภาพสินค้าดี คนญี่ปุ่นนิยมใช้สินค้า (ไม่)เป็นไปตามอายุการใช้งาน คือ เลิกใช้ก่อนที่จะหมดอายุขัย เช่น เครื่องซักผ้าที่ตามมาตรฐานส่วนใหญ่ใช้งานได้ 10 ปี แต่คนญี่ปุ่นจะใช้งานเพียง 5 ปี หรือครึ่งหนึ่งของอายุการใช้งานของสินค้าเกือบทุกประเภท
  3. ญี่ปุ่นมีเทศกาลและวันสำคัญที่เน้นการจัดบ้านใหม่ หรือโละของเก่า/ของไม่ใช่แล้วอยู่บ่อยๆ
  4. สำหรับรถยนต์ คนญี่ปุ่นไม่นิยมใช้รถเก่าเพราะเรื่องของ ‘ค่าธรรมเนียมพิเศษ’ (extra fee) ราว 10% จากเดิมที่ต้องจ่ายภาษีทะเบียนรถอยู่แล้ว สำหรับรถยนต์เก่าที่มีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
www.global.rakuten.com

 

ไม่ใช่แค่เอเชียแต่ คนยุโรป ก็คลั่งสินค้า used goods

ในปัจจุบันมี 2 ประเทศในโซนยุโรปที่มีห้างสรรพสินค้าสินค้ามือ 2 โดยเฉพาะ นั่นก็คือ สวีเดน และฟินแลนด์ เรียกได้ว่าเป็น business model ที่ทำให้อีกหลายประเทศในยุโรปเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น

อย่างที่สวีเดน ในเขตชานเมืองเอสกิลสตูนา (Eskilstuna) ที่อยู่ห่างจากกรุงสตอกโฮล์มราวๆ 70 ไมล์ ได้เปิดตัวห้างสรรพสินค้า ReTuna ซึ่งเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในปี 2015 พูดได้ว่าเป็น secondhand shopping center แห่งแรกของโลก ทั้งนี้ Rosanna Endre ประธานโครงการ Greenpeace Sweden พูดว่า “สวีเดน ถูกยกย่องว่าเป็นประเทศที่ชูธงในเรื่องความยั่งยืนมานาน ที่น่าสนใจคือ ขยะในครัวเรือนของประเทศมากถึง 99% ถูกนำกลับมา recycled และ 50% ในจำนวนนั้นก็ถูกนำไปเผาทำเป็นพลังงาน จึงไม่แปลกที่ห้างฯ reuse ขนาดใหญ่ในประเทศจะได้รับความนิยมอย่างมาก”

RETUNA ÅTERBRUKSGALLERIA

ต่อมาในปี 2018 ฟินแลนด์ เป็นประเทศที่ 2 ที่มีการเปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตจำหน่ายสินค้ามือ 2 ที่ชื่อว่า ‘Kierrätyskeskus’ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเฮลซิงกิ (Helsinki) เมืองหลวงของประเทศ โดยรายงานของ WEF ระบุถึงความน่าสนใจของ reuse centresแห่งนี้ว่ามีระบบคล้ายองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพราะว่าศูนย์ที่นี่จะเปิดรับบริจาคสิ่งของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือสิ่งของที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ยังซ่อมแซมสร้างมูลค่าใหม่ได้ ตั้งแต่เสื้อผ้าจนไปถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ

Kierrätyskeskus

โดยกระบวนการก็คือ จะจ้างกลุ่มคนไร้อาชีพที่มีฝีมือมาซ่อมแซมสิ่งของเหล่านี้เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ (รายได้ที่ได้รับนำมาเป็นค่าจ้างแรงงาน) ซึ่งช่องทางจำหน่ายในปัจจุบันมีอยู่ 2 ช่องทาง ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ทั้งนี้ในอนาคตยังวางเป้าหมายที่จะขยาย reuse store ให้ได้อีก 7 แห่งด้วยกัน

ที่น่าสนใจก็คือ นักวิเคราะห์ของ WEF ชี้ว่า ภายในปี 2045 ประชากรโลกจะเติบโตมากขึ้นเพิ่มเป็น 9 พันล้านคน จากปัจจุบันมีจำนวน 7.5 พันล้านคน ซึ่งหมายความว่า ขยะครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นการปลูกฝังเรื่อง ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ (Circular Economy) จึงสำคัญมาก ขณะที่อังกฤษเป็นประเทศล่าสุดที่แสดงความสนใจจะเปิดศูนย์ reuse centre ในประเทศ โดยมองว่าจะช่วยลดขยะภายในประเทศได้อีกทางหนึ่ง

Radiokafka

 

ที่มา : ft, independent, mintel, japantimes, huffpost, weforum


  • 448
  •  
  •  
  •  
  •  
prakai
'ชีวิต' ต้องมีสีสันหลากหลาย เหมือนกับความรู้ที่มีหลายมิติ ทั้งไลฟ์สไตล์, การตลาด, ดิจิทัล, ประเพณี-วัฒนธรรม