อะไรที่ทำให้คุณกลับมาอ่านหนังสือเล่มโปรด ย้อนดูซีรี่ย์ หรือหนังเรื่องเก่าที่เคยดูไปแล้ว?
นั่นก็คือ การเขียนเนื้อเรื่องที่ดี ผู้เขียนและผู้สร้างต่างรู้ในสิ่งนี้ ทราบถึงพลังแห่งเนื้อเรื่อง และการวาดภาพให้ใหญ่แก่ผู้ชม
ทุกวันนี้ธุรกิจจ่ายให้กับ traditional mass media น้อยลง เพราะหันไปทำมาร์เก็ตติ้งผ่านโซเชียล มีเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้นั้น เราต้องมุ่งไปสู่ new media ที่ที่แตกต่างกันเพื่อให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
ในโซเชียล มีเดีย นักการตลาดต้องสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่คนต้องการเห็น และแบรนด์ต้องทำให้ผู้ชมสนใจโดยการเล่าเรื่องราวของแบรนด์ที่ดี แต่เรื่องราวที่ดีทำอย่างไรล่ะ?
มีทฤษฎีหนึ่งน่าสนใจมาก เรียกว่า “Freytag’s Pyramid” ซึ่งได้แตกวิธีการเขียนเรื่องราวออกเป็น 5 acts ด้วยกัน ได้แก่ introduction (exposition), rising action, climax, falling action และ resolve (denouement) ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าบทประพันธ์ของ Shakespeare กวีเอกของโลก ก็เป็นไปตามทฤษฎีนี้เช่นกัน
นอกจากนี้ สิ่งที่ค้นพบก็คือหลายๆ ชิ้นงานโฆษณาที่โด่งดังต่างก็ใช้วิธีการเล่าเรื่องราวแบบ 5acts นี้ทั้งสิ้น ซึ่งคุณสามารถนำมาใช้ดัดแปลงได้ในงานเขียนบนโซเชียล มีเดีย
อย่างไรก็ตาม งานโซเชียล มีเดียที่ดี จะต้องอาศัยความถี่ เนื้อหาที่สอดคล้อง และคุณภาพงานเขียน ซึ่งจะต่างจากการโฆษณาแคมเปญ ที่อาจจะทำเป็นลักษณะ ads ซีรี่ย์ 3-6 ชิ้น แต่งานโซเชียล เน็ตเวิร์ก จะต้องโพสต์อย่างต่อเนื่องทุกวันหรือก็ไม่ก็ทุกสัปดาห์
ดังนั้น ลองมาดูสูตรการเขียนเรื่องราวที่ดีผ่านทฤษฎี “Freytag’s Pyramid” กันว่าทั้ง 5acts นี้คือ
Act 1: Introduction
หรือบางทีอาจจะเรียกว่า Exposition หรือส่วนเกริ่นนำเรื่อง โดยส่วนนี้จะเป็นการบอกแบล็กกราวนด์ หรือเหตุการณ์ก่อนหน้า คาแล็กเตอร์ของตัวละคร ฯลฯ ผู้คนซื้อแบรนด์ผ่านสินค้าหรือบริการ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องราวเบื้องหลังด้วย หากคุณต้องการแบ่งปันเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่สำคัญของบริษัท สามารถทำได้เลยผ่านโซเชียล มีเดีย คอนเทนต์
Act 2: Rising Action
ถัดมาคือการเดินเรื่องถึงสิ่งที่อุบัติขึ้นหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเนื้อหาจะค่อยๆ ไต่ระดับไปยังจุดสนใจสูงสุด ซึ่งก็คือ Climax แต่ระวังการโพสต์อะไรที่ราบเรียบหรือเนื้อหาในแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จะทำให้คนอ่านเบื่อได้
ลองคิดอะไรในมุมมองที่ใหญ่กว่าเดิม สร้างจุดเปลี่ยนหรือจุดพลิกของเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกอยากติดตามเรื่องราวต่อไป
Act 3: Climax
นี่คือจุดพลิกผันของเรื่อง ซึ่งจะเปลี่ยนโชคชะตาของตัวละครหลักให้ไม่เหมือนเดิม ขั้นแรกคุณจะต้องนิยาม main character ของคุณ ว่าคุณต้องการโพสต์เพื่อเล่าเรื่องราวของแบรนด์หรือโฟกัสไปที่การเล่าเรื่ัองราวของลูกค้า ถ้าคุณต้องการที่จะนำเสนอจุดเปลี่ยนของแบรนด์หรือการไปสู่จุดเปลี่ยนของลูกค้า ที่สามารถแก้ปัญหาหรือเอาชนะความท้าทายได้ด้วยการใช้สินค้าหรือบริการจากแบรนด์โดยตรง
Act 4: Falling Action
ช่วงนี้คือคือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากจุดเปลี่ยน (Climax) ซึ่งจะค่อยเปิดเผยรายละเอียดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และถ้าอุปสรรคนั้นถูกเอาชนะได้สิ่งที่ได้รับผลนั้นคือเพื่อแบรนด์หรือเพื่อลูกค้า รายละเอียดมากมายของสิ่งดีๆ ที่ได้รับและการฝันฝ่าอุปสรรคจนไปถึงเส้นชัยก็จะเปิดเผยในส่วนนี้
Act 5: Resolution
เหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมดนำไปสู่จุดๆ นี้ นั่นคือฉากจบของเรื่องราวดราม่าทั้งหมด ความขัดแย้งได้รับการแก้ปัญหา ตัวละครต่างๆ ผ่อนคลายความตึงเครียดลง ซึ่งในส่วนของเนื้อหาในโซเชียล มีเดีย จะต้องนำเสนอแบรนด์หรือชัยชนะของลูกค้าในส่วนนี้ เพื่อให้เห็นการไปถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพของแบรนด์และลูกค้า หรือสิ่งที่สร้างความสุขนิรันด์
ลองทำตาม สูตร 5acts นี้ดู เพื่องานเขียนคอนเทนต์ในโซเชียล มีเดีย ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะไม่ว่าใครก็ชอบเรื่องราวดราม่ากันทั้งนั้น.